สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย (เดือนสิงหาคม ปี 2024)


สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย (เดือนสิงหาคม ปี 2024)

(สรุป)
  • สามเดือนผ่านไปนับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม จากการบรรจบกันของปรากฏการณ์เอลนีโญและการเริ่มต้นของฤดูฝน ทำให้ปริมาณน้ำฝนเพิ่มอย่างมากทั่วประเทศ ความกังวลเกี่ยวกับภัยแล้งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปีที่แล้วได้เริ่มคลี่คลายแต่ทว่าในทางกลับกันอัตราการกักเก็บน้ำในเขื่อนหลักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและอ่างเก็บน้ำในบริเวณภาคตะวันออกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความจำเป็นต้องจับตาดูปริมาณการกักเก็บน้ำและการปล่อยน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต
  • ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทย ปริมาณฝนสะสมได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ต้นฤดูฝน ส่งผลให้ปริมาณฝนสะสมสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกตั้งแต่ช่วงกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคมมีรายงานเหตุการณ์น้ำท่วม เช่น น้ำท่วมฉับพลันหลายครั้ง
  • กรมอุตุนิยมวิทยา (TMD) คาดการณ์ปริมาณฝนเดือนสิงหาคม-ตุลาคมทั่วประเทศไทยนั้นมีปริมาณมากกว่าปีที่ผ่านมา 5% จึงมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังเหตุการณ์น้ำท่วมในบริเวณใกล้เคียงกับแม่น้ำ, คลองหรือในพื้นที่ราบลุ่มจนถึงช่วงสิ้นสุดฤดูฝน
  การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในช่วงครึ่งหลังของฤดูฝน (เดือนสิงหาคม – เดือนตุลาคม) ปี 2024 กรมอุตุนิยมวิทยา (TMD: Thai Meteorological Department) ประกาศคาดการณ์สถานการณ์ในช่วง 3 เดือนในปลายเดือนกรกฏาคม ซึ่งปริมาณน้ำฝนในช่วง 3 เดือนจากเดือนสิงหาคม – เดือนตุลาคมนั้นจะมากกว่าค่าปกติของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศ 5%  ปริมาณน้ำฝนโดยประมาณตามภูมิภาคมีดังนี้: ภาคเหนือ                                         550-650 มม. (ค่าปกติ 577 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                600-700 มม. (ค่าปกติ 636 มม.) ภาคกลาง                                         550-650 มม. (ค่าปกติ 571 มม.) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล      800-900 มม. (ค่าปกติ 782 มม.) ภาคตะวันออก                                 850-950 มม. (ค่าปกติ 856 มม.) ภาคใต้(ฝั่งอ่าวไทย)                       500-600 มม. (ค่าปกติ 531 มม.) ภาคใต้(ฝั่งอันดามัน)                      1,200-1,300 มม. (ค่าปกติ 1,217 มม.) ภาพด้านล่างเป็นภาพแผนที่ประเทศไทยที่มีการแสดงปริมาณน้ำฝนในแต่ละเดือน ในเดือนสิงหาคมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับค่าปกติ และมีการคาดการณ์ว่าในเดือนตุลาคมจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับค่าปกติในทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีข้อน่ากังวลใจที่ปริมาณฝนจะเพิ่มมากขึ้นในเดือนกันยายนเนื่องจากการเข้าใกล้ของพายุหมุนเขตร้อน การเปลี่ยนผ่านของปรากฏการณ์เอลนีโญไปยังปรากฏการณ์ลานีญา เอลนีโญ/ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตรตอนกลางและตะวันออกสูงหรือต่ำกว่าปกติเป็นเวลาหลายเดือนถึงหนึ่งปี ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาถือเป็นสาเหตุของสภาพอากาศที่ผิดปกติทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยและญี่ปุ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย ในระยะที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญมีแนวโน้มที่จะแห้งแล้ง โดยมีอุณหภูมิสูงและมีฝนตกน้อย ในขณะที่ช่วงเกิดปรากฏการณ์ลานีญามีแนวโน้มที่จะมีอุณหภูมิต่ำและมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น จากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์โดย TMD การวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิรายเดือนเป็นเวลา 50 ปี ตั้งแต่ปี 1951 ถึงปี 2000 พบว่าในปีที่ลานีญาเกิดขึ้น ปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยมีปริมาณสูงกว่าปกติโดยเฉพาะตั้งแต่ฤดูร้อนถึงฤดูฝน มีรายงานว่าในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝนมีฝนตกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับช่วงอื่นๆ และมีแนวโน้มว่าจะมีอิทธิพลน้อยลงในช่วงครึ่งหลังของฤดูฝน นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ลานีญายังส่งผลต่ออุณหภูมิมากกว่าปริมาณน้ำฝน และปรากฏการณ์ลานีญาที่รุนแรงมีแนวโน้มที่จะทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีปกติ รูปด้านล่างแสดงแนวโน้มของ ONI (Ocean Niño Index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเกิดเอลนีโญ/ลานีญาในอดีตตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป (รูปด้านล่าง) จัดพิมพ์โดย National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) คาบ ONI ต่อเนื่องที่สูงกว่า 0.5 บ่งชี้ถึงปรากฏการณ์เอลนีโญ และคาบต่อเนื่องที่ -0.5 หรือต่ำกว่าหมายถึงการเกิดลานีญา ล่าสุด ปรากฏการณ์เอลนีโญเกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี ​​2023 ถึงต้นปี 2024 แต่ ONI มีแนวโน้มลดลง และ ONI จะเข้าสู่สถานะเป็นกลางในช่วงกลางปี ​​2024 NOAA คาดการณ์ว่าสภาพภูมิอากาศซึ่งขณะนี้อยู่ในสถานะเป็นกลาง จะเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ลานีญาอย่างเต็มรูปแบบ และมีความเป็นไปได้สูงที่ลานีญาจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี กรมอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (TMD) ญี่ปุ่น (สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น) ออสเตรเลีย (BOM) และประเทศอื่นๆ ได้ประกาศการคาดการณ์ที่คล้ายกันเช่นกัน ตามการคาดการณ์ล่าสุดของ NOAA มีโอกาสมากกว่า 80% ที่ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยจะเป็นกลางระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน แต่มีความเป็นไปได้เกือบ 50% หรือสูงกว่าที่ปรากฏการณ์ลานีญาจะเกิดขึ้นในอีกหกเดือนข้างหน้า การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศในช่วงครึ่งหลังปี 2024 และการป้องกัน    TMD คาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ลานีญาได้เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน และจะดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นปีและเข้าสู่ปีใหม่ เนื่องจากอิทธิพลของปรากฏการณ์ลานีญา คาดว่าปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และอุณหภูมิในฤดูหนาว (ประมาณเดือนธันวาคม) คาดว่าจะต่ำกว่าปีที่แล้ว สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติของประเทศไทย (สทนช.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำการปรับปรุงการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝน สภาพภูมิอากาศ และพายุหมุนเขตร้อน เพื่อป้องกันความเสียหายขนาดใหญ่ เช่น น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2011 ไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง ซึ่งมาตรการรับมือหน้าฝนทั้ง 10 ประการนี้ได้มีการเริ่มลงมือปฏิบัติแล้ว (ดูบทความก่อนหน้าที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคมของปีนี้) ขณะที่ร่องมรสุมเข้าใกล้ในเดือนสิงหาคมและกันยายน คาดว่าปริมาณฝนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะสูงกว่าปกติประมาณ 20%      โดยเฉพาะในพื้นที่ใต้เขื่อนนั้นมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อัตราการไหลของน้ำและระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ประวัติศาสตร์ สวนอุตสาหกรรม และพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณปลายน้ำเจ้าพระยา สทนช. กำลังเร่งติดตามและจัดการสถานการณ์ มีการกำหนดจุดตรวจติดตามการไหลของแม่น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 จุด ได้แก่ จุดสังเกต Y.4 ที่สุโขทัย จุดสังเกต C.2 ที่นครสวรรค์ จุดสังเกต C.13 ที่เขื่อนเจ้าพระยา และจุดสังเกต C29A ที่อยุธยา การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IAET) ได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันและแผนการรับมือน้ำท่วมสำหรับอุตสาหกรรม โดยทำการวางแผนมาตรการการรับมือป้องกันจากด้านต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน, การปรับปรุงระบบระบายน้ำ, การกำหนดตำแหน่งพื้นที่รับน้ำชั่วคราว  และการฝึกอบรมมาตรการการรับมือน้ำท่วมในกรณีฉุกเฉิน เพื่อลดความเสียหายของนิคมอุตสาหกรรมและสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์ติดตามและจัดการสิ่งแวดล้อมขึ้นเพื่อติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีการแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ นิคมอุตสาหกรรม 15 แห่งที่บริหารจัดการโดย กนอ. และนิคมอุตสาหกรรม 53 แห่งที่บริหารจัดการร่วมกับภาคเอกชน ซึ่ง   กนอ. ได้เสริมสร้างการตอบสนองการป้องกันภัยพิบัติให้กับกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมที่จัดการโดย กนอ. เป็นหลัก อีกทั้ง กนอ.ยังให้ความสำคัญกับการปรับปรุงมาตรการรับมือน้ำท่วมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เช่น การติดตั้งระบบระบายน้ำ เพิ่มเติมในสวนนิคมอุตสาหกรรมบางปูในปี 2023 ซึ่งเป็นระบบการจัดการน้ำอัจฉริยะและการควบคุมการติดตามที่สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์สภาวะต่าง ๆ (SCADA: Supervisory Control and Data Acquisition) สามารถทำการวัดและวิเคราะห์ระดับน้ำได้แบบเรียลไทม์, การจัดการเพื่อส่งน้ำไปยังคลองที่ทอดไปสู่ทะเลเป็นหลักเพื่อลดการระบายน้ำไปยังแหล่งชุมชน และการจัดการเพื่อชดเชยจุดอ่อนของคันดิน มีการกำหนดให้ทำการติดตั้งระบบ SCADA นี้ในนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ นิคมอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงที่ชัดเจนจึงเป็นเป้าหมายแรกในการติดตั้ง   ปริมาณการกักเก็บน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิตติ์นั้นมีแนวโน้มลดลงในช่วงต้นปี แต่ทว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนสิงหาคม ปริมาณการกักเก็บเขื่อนภูมิพลนั้นมีปริมาณต่ำกว่า Low Rule Curve (ค่าพื้นฐานปริมาณน้ำสูงสุด หากค่านี้ต่ำกว่าที่มีการกำหนดจะเข้าสู่การจำกัดการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน) เนื่องจากรัฐบาลต้องการควบคุมการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนเพื่อรักษาปริมาณน้ำในเขื่อนในช่วงฝนตกหนัก ในด้านเขื่อนสิริกิตติ์นั้นยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่ามีปริมาณที่ต่ำกว่าในปี 2011 แต่ยังคงสูงกว่าระดับน้ำในปี 2022 ปริมาณการกักเก็บน้ำในเขื่อนแควน้อยและป่าสักนั้นเพิ่มขึ้นตั้งเดือนปลายเดือนกรกฏาคม มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2022 และ 2021 แต่ทว่าปริมาณการกักเก็บน้ำในเขื่อนป่าสักนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเทียบเท่ากับระดับน้ำในปี 2011 เขื่อนทั้งสองแห่งนั้นเมื่อเปรียบเทียบจากข้อมูลในอดีตแล้วมีแนวโน้มที่ปริมาณการกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม และอัตราการกักเก็บน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นไปจนถึงช่วงท้ายของฤดูฝน สถานการณ์กระแสน้ำบริเวณตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (ด้านเหนือของเขื่อนเจ้าพระยา) ส่วนหนึ่งของแม่น้ำปิง, แม่น้ำวัง, แม่น้ำยม และแม่น้ำน่านเพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับ Critical และมีปริมาณไหลของน้ำที่สูง แต่ทว่าในบริเวณอื่นไม่มีสถานการณ์ใดที่สามารถนำไปสู่น้ำท่วมได้ในช่วงนี้ (หมายเหตุ) – ตัวเลขสีดำในแม่น้ำ: อัตราการไหลของแม่น้ำ (ลูกบาศก์เมตร/วินาที) ตัวเลขในวงเล็บ: อัตราการไหลของน้ำ(ลูกบาศก์เมตร/วัน) – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้และมี (+) หรือต่ำกว่า (-): ความห่างของระดับน้ำจากเขื่อนกั้นน้ำ (หากเลขเป็น 0 จะเกิดน้ำท่วม) – ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร สถานการณ์กระแสน้ำบริเวณตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (ด้านใต้ของเขื่อนเจ้าพระยา) บริเวณตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้ายานั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด จึงไม่มีสถานการณ์ใดที่สามารถนำไปสู่น้ำท่วมได้ในช่วงนี้ (หมายเหต)   – ตัวเลขสีดำในแม่น้ำ: อัตราการไหลของแม่น้ำ (ลูกบาศก์เมตร/วินาที) ตัวเลขในวงเล็บ: อัตราการไหลของน้ำ(ลูกบาศก์เมตร/วัน) – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้และมี (+) หรือต่ำกว่า (-): ความห่างของระดับน้ำจากเขื่อนกั้นน้ำ (หากเลขเป็น 0 จะเกิดน้ำท่วม) – ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร สถานการณ์ของอ่างเก็บน้ำหลักในภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี)   อ่างเก็บน้ำหลักในจังหวัดชลบุรีนั้นมีปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เข้าฤดูฝน ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระนั้นสูงกว่าช่วงเดียวกันในปี 2015 และ 2023 แต่ทว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหนองค้อนั้นอยู่ในปริมาณที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้งสองแห่งนั้นมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม จึงคาดว่าจะมีอัตราการกักเก็บน้ำที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงช่วงท้ายของฤดูฝน สถานการณ์ของอ่างเก็บน้ำหลักในภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง)   อ่างเก็บน้ำหลักในจังหวัดระยองนั้นมีปริมาณน้ำที่มีแนวโน้มลดลงถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งจัดได้ว่าเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2021 แต่ทว่ามีปริมาณการกักเก็บน้ำที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เข้าฤดูฝน อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลนั้นมีปริมาณกักเก็บน้ำที่สูงขึ้นเกือบเทียบเท่าปริมาณน้ำในปี 2023 ส่วนอ่างเก็บน้ำดอกกรายนั้นเริ่มมีปริมาณน้ำที่สูงขึ้นกว่าปี 2021 และ 2023 ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้งสองแห่งนั้นมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม สถานการณ์การเกิดน้ำท่วม (ช่วงครึ่งหลังเดือนกรกฏาคมไปจนถึงครึ่งแรกของเดือนสิงหาคม) ณ ปัจจุบันมีรายงานการเกิดเหตุน้ำท่วมมากกว่า 30 เคสในประเทศไทย ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนั้นส่วนหนึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออก (จังหวัดปราจีนบุรี, นครนายก, จันทบุรี, ตราด) นั้นเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งสื่อมีการหยิบยกรายงานความเสียหายจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flood) ใน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อย่างกว้างขวาง หลังจากนั้นในคืนวันที่ 4 สิงหาคม เกิดความเสียหายจากน้ำท่วมในบริเวณแหล่งชุมชนและบริเวณพื้นที่เชิงพาณิชย์ (บริเวณรีสอร์ทหลังเขื่อน) จึงมีข่าวรายงานอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในตัวอำเภอเมืองจังหวังนครนายก สาเหตุที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันนั้นมีการคาดการณ์ในช่วงแรกว่ามาจากการปล่อยปริมาณน้ำที่มากเกินไปจากอ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชัย แต่ทว่าหลังจากนั้นจึงทราบได้ว่าสาเหตุมาจากประตูน้ำที่บริเวณอ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชัยนั้นชำรุด อีกทั้งเกิดฝนตกหนักในบริเวณทิศเหนือในจังหวัดนครนายก ทำให้น้ำในทางน้ำหลักไหลทะลักเข้าสู่แหล่งชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมหลายแห่งในเมืององครักษณ์ เพื่อบรรเทาสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นกองทัพเรือได้มีการติดตั้งเรือผลักดันน้ำจำนวน 30 ลำในเมืององครักษณ์เพื่อเร่งระบายน้ำไปยังอ่าวไทย ในทางกลับกันพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหลักเช่น จังหวัดปราจีนบุรีนั้น ณ วันที่ 20 สิงหาคมยังไม่มีรายงานข่าวในเรื่องน้ำท่วมแต่อย่างใด ภาพด้านล่างนั้นเป็นแผนภาพที่แสดงบริเวณที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในภาคตะวันออก ที่ทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA : GEO-INFORMATICS AND SPACE TECHNOLOGY DEVELOPMENT AGENCY)ได้มีการเผยแพร่ ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2024
อ้างอิง http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php https://www.tmd.go.th/forecast/monthlyล https://www.tmd.go.th/media/climate/climate-monthly/newsaso_2024_english.pdf https://www.climate.gov/news-features/understanding-climate/climate-variability-oceanic-nino-index https://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/lanina/enso_evolution-status-fcsts-web.pdf http://water.rid.go.th/flood/flood/daily.pdf https://www.thaiwater.net/water/dam/large http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up20082024.jpg http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low20082024.jpg https://www.thansettakij.com/business/economy/599751#google_vignette https://www.prachachat.net/economy/news-1608760 https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1134011 https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1131732 https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1131415 https://www.eastwater.com/th/Customer/WeeklyWaterSituationDetails/449 https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=8019&lang=TH https://www.matichon.co.th/region/news_4724038 https://www.thaipbs.or.th/news/content/342875 https://www.bangkokbiznews.com/news/1139789
_______________________________________________________________________
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a risk-related service company of the MS&AD Insurance Group, which conducts consulting related to risk management and research in a wide range of fields.
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd. is a risk management company based in Bangkok, Thailand. We provide various risk consulting services in Southeast Asian countries, including fire risk surveys, natural disaster and industrial accident risk surveys for factories, warehouses, commercial facilities, etc., traffic risks, BCP Establishment support, cyber risks, etc.
For inquiry, please feel free to contact the below information, or nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. International Section, Risk Consulting Division TEL. +66-(0)-3-5296-8920 https://www.irric.co.jp/en/corporate/index.php
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd. 175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailandฅ TEL: +66-(0)-2679-5276 FAX: +66-(0)-2679-5278 https://www.interriskthai.co.th/
The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.
 

No tag assigned

อุบัติเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร

July 12, 2024
Hayaki Ezaki

อุบัติเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร

[ภาพรวม]

  • หนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดเหตุเพลิงไหม้ในภูมิภาคเอเชีย คือ ไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งมีสาเหตุมาจากการจัดการและการใช้งานสายไฟอย่างไม่เหมาะสม
  • มาตรการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ได้แก่ การตรวจสอบสภาพของปลั๊กไฟและความจุของปลั๊กพ่วง การติดตั้งเบรกเกอร์อย่างเหมาะสม การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย และการดูแลรักษาพัดลมไฟฟ้า
  • การป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร สามารถทำได้หลายวิธีการ ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางพฤติกรรมด้วยเช่นกัน

สถิติการเกิดเหตุเพลิงไหม้ของประเทศไทย

ข้อมูลทางสถิติจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่าหนึ่งในภัยพิบัติสาธารณะที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในประเทศไทยนั้นมีสาเหตุหลักมาจากไฟไหม้หญ้าและการเผาขยะ (704 กรณีในปี 2023) ตามมาด้วยไฟฟ้าลัดวงจร (142 กรณีในปีพ.ศ. 2023) ดังแผนภาพที่ 1 (ข้อมูลในแผนภาพด้านล่างแสดงข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2017 – เดือนมีนาคม 2023) ถึงแม้ว่าอัตราการเกิดเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรจะเป็นรองจากสาเหตุอื่น ๆ  ไม่ว่าจะทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย แต่ผลที่ตามมาของเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นความเสียหายร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งทรัพย์สินและชีวิต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร

ไฟฟ้าลัดวงจรคืออะไร?

ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นเมื่อไฟฟ้าพบทางลัดรอบเส้นทางดั้งเดิมในวงจร สิ่งนี้มักเกิดขึ้นเมื่อสายไฟสองเส้นที่มีแรงดันไฟฟ้าต่างกันมาสัมผัสกัน หรือตัวนำไฟฟ้าสัมผัสกับพื้นดิน ไฟฟ้าลัดวงจรอาจทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ทำให้สายไฟร้อนเกินไป และละลาย ทำให้เกิดประกายไฟเมื่อมีกระแสไฟกระโดดระหว่างสายไฟ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจทำให้เกิดการจุดติดไฟกับวัตถุไวไฟ วัตถุติดไฟได้ที่อยู่ใกล้เคียง และก่อให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือนทั่วไป ได้แก่ พัดลมไฟฟ้า ปลั๊กไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันอาจเป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้เนื่องจากการใช้งานมากเกินไปหรือการชำรุด

ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ในสภาพแวดล้อมโดยรอบมีความเสี่ยงหลายประการที่อาจนำไปสู่ไฟฟ้าลัดวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป ไฟฟ้าลัดวงจรอาจเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
  • สัตว์รบกวนกัด แทะสายไฟ
  • น้ำหรือของเหลวอื่น ๆ สัมผัสกับสายไฟ
  • การเชื่อมต่อในตู้ไฟฟ้าหลวม หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์
  • ปลั๊กไฟ สวิตช์ไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าหรือชำรุด
  • ตะปูหรือสกรูที่เจาะทะลุผนังสัมผัสกับสายไฟ
  • การเสื่อมสภาพของเปลือกนอกสายไฟ
  • การสะสมของกระแสไฟฟ้า หรือไฟกระชาก
  • ความร้อนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีภาวะโอเวอร์โหลด (โอเวอร์โหลด คือ ภาวะที่โหลดการใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่ากระแสไฟฟ้าปกติหรือกระแสไฟฟ้าที่กำหนด)
การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไม่เหมาะสมส่งผลให้ความเสี่ยงการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งรวมถึงการจัดเก็บอุปกรณ์ในสถานที่ไม่เหมาะสม การใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การใช้งานอุปกรณ์เป็นระยะเวลานานเกินไป หรือการโอเวอร์โหลดในวงจรไฟฟ้า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะความร้อนสูง ที่สร้างความเสียหายและทำให้ฉนวนในวงจรเสียหาย ส่งผลให้เส้นทางวงจรทำงานผิดปกติ นำไปสู่การเกิดการไฟฟ้าลัดวงจร อันเป็นสาเหตุของเหตุเพลิงไหม้ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

วิธีป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร

ไฟฟ้าลัดวงจรสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะสถานที่ใดหรือเวลาใดก็ตาม โดยวิธีการลดความเสี่ยงการเกิดเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรมีดังนี้ ตรวจสอบปลั๊กไฟก่อนใช้งาน ปลั๊กไฟเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน และจัดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ควรตรวจสอบปลั๊กไฟทุกครั้งก่อนใช้งาน หากมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเสียหาย ไฟไหม้ หรือประกายไฟเมื่อเสียบปลั๊ก ควรทำการเปลี่ยนหรือซ่อมแซมปลั๊กไฟดังกล่าว ไม่เสียบปลั๊กพ่วงเข้ากับปลั๊กพ่วง ปลั๊กไฟแต่ละช่องของปลั๊กพ่วงสามารถรองรับกระแสไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ แต่ไม่เพียงพอที่จะสามารถรองรับกระแสไฟจำนวนมหาศาลเพื่อจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากในเวลาเดียวกันได้ การใช้งานที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะโอเวอร์โหลด ตามมาด้วยภาวะความร้อนสูง และนำไปสู่เหตุเพลิงไหม้ในที่สุด ติดตั้งเบรกเกอร์ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินที่อาจส่งผลให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ ควรติดตั้งเบรกเกอร์และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีการตัดไฟทั้งโดยอัตโนมัติและแบบแมนนวลในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐานรับรอง ในการผลิตนั้นมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด การใช้อุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานสามารถรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์รวมถึงวัสดุของสินค้าได้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบ เช่น การทนไฟ การตัดกระแสไฟเกิน สามารถลดความเสี่ยงด้านเพลิงลุกลามและความเสียหายอื่น ๆ ได้ การป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรของพัดลมไฟฟ้า ฝุ่นจากบริเวณโดยรอบอาจสะสมในมอเตอร์และขัดขวางการหมุนของใบพัดลม ส่งผลให้มอเตอร์ทำงานหนักขึ้นเพื่อต้านต่อการเสียดสี ก่อให้เกิดความร้อน การทำความสะอาดสม่ำเสมอสามารถช่วยขจัดฝุ่นและลดความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ซึ่งความร้อนจากมอเตอร์ยังเป็นสาเหตุของสายไฟเสื่อมสภาพ และนำไปสู่การเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ด้วยเช่นกัน จึงไม่ควรใช้พัดลมเกินขีดจำกัดกำลังไฟของปลั๊กไฟ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้พัดลมเพียงตัวเดียวเพื่อป้องกันความร้อนสะสมอันมีสาเหตุมาจากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง แหล่งอ้างอิง
https://www.thespruce.com/what-is-electrical-circuit-overload-1152861 https://www.bangkokfire.go.th/dashboard-สถิติเหตุสาธารณภัยต่า/ https://www.ohswa.or.th/17803510/ซีรีส์พื้นฐานความปลอดภัยด้านไฟฟ้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยต้องรู้-ep1 https://www.kacha.co.th/articles/ไฟฟ้าลัดวงจร-เกิดจากอะไ/ https://chuphotic.com/knowledge/short-circuit/#:~:text=ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดจากสาเหตุ,กันดีกว่า%20ว่าแต่ละ http://www.kitchenindy.com/article/3/วิธีเลือก-ปลั๊กพ่วง-ปลั๊กไฟ-ให้เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัว https://www.q-chang.com/blog/short-circuit/#:~:text=1.%20ไฟฟ้าลัดวงจร%20เนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าเกิน&text=หากเรามีการใช้,สู่เหตุการณ์ไฟไหม้ได้ https://www.tisi.go.th/data/about/tisi_standard_mark.pdf
_______________________________________________________________________
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a risk-related service company of the MS&AD Insurance Group, which conducts consulting related to risk management and research in a wide range of fields.
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd. is a risk management company based in Bangkok, Thailand. We provide various risk consulting services in Southeast Asian countries, including fire risk surveys, natural disaster and industrial accident risk surveys for factories, warehouses, commercial facilities, etc., traffic risks, BCP Establishment support, cyber risks, etc.
For inquiry, please feel free to contact the below information, or nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. International Section, Risk Consulting Division TEL. +66-(0)-3-5296-8920 https://www.irric.co.jp/en/corporate/index.php
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd. 175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailandฅ TEL: +66-(0)-2679-5276 FAX: +66-(0)-2679-5278 https://www.interriskthai.co.th/

No tag assigned

Myanmar Flood Report


Myanmar Flood Report

Cyclone and flood risks in Myanmar and prospects for the 2024 rainy season

[Summary] In Myanmar, flood risk is highest from July to September as main rainy season. The frequency of cyclones in the Bay of Bengal increases from June to October, with a peak in July to September. Historically, most cyclones in Myanmar landfall before/after rainy season, therefore it is necessary to monitor and prepare for strong wind and storm surge disasters during April-May and October-December. Cyclone Nargis in May 2008 was the most severe cyclone in Myanmar’s history. The storm surge, with a maximum tide level of 7m caused severe damage and resulted in the tragic loss of over 80,000 lives. Many meteorological departments in global have predicted the occurrence of La Nina event later 2024. La Nina often brings heavy rainfall situation to Southeast Asia including Myanmar. It is necessary to prepare for flood risk possibility from more heavy rain disasters during 2024 rainy season.

Characteristics of annual climate and natural disaster seasonally in Myanmar

Seasons in Myanmar are roughly divided into 3 seasons: the dry season from late October to March, the extremely hot season in April and May, and the rainy season from mid-June to mid-October. From June to September, the southwest monsoon, which blows in humid and warm winds, causes high temperatures and humidity, and heavy rain and thunderstorm are likely to occur. From December to April, the northeast monsoon causes relatively cool weather. The figure below shows the annual calendar of natural disaster hazards provided by the Department of Meteorology and Hydrology in Myanmar (DMH). Special warning periods include the Thunderstorm from March to October, the Heavy rain from May to September, the Flood from June to October, the Cyclones from April to May and October to November, and the Strong winds and Heavy rain from Monsoon depression from May to September.

Classification of cyclones and characteristics of cyclone occurrence in Myanmar

The cyclone is a tropical cyclone that occurs in the northern Indian Ocean, southern Indian Ocean and southern Pacific Ocean. In the North Indian Ocean region including Myanmar, cyclones are classified according to the maximum wind speed as table below. The following terms are used in the announcement document of India Meteorological Department and DMH. In the Bay of Bengal part of North Indian Ocean facing Myanmar, when the maximum wind speed is less than 34 kt (knots, 1 knot is about 0.5144 m/s), it is classified as the Depression [D] or the Deep Depression [DD], and when it is 34 kt or more, it is classified as the Cyclonic Storm [CS]. Normally, when a cyclone reaches CS level or above, caution is required against violent winds and storm surges. The table below shows the number of landfalls of cyclones in the Bay of Bengal with a strength of CS or above by country from 2014 to 2023. On average, near 3 cyclones occur in the Bay of Bengal per year. Cyclones tend to move from east to west or from south to north, and they frequently land or approach India, Sri Lanka, and Bangladesh. In the past 10 years, there have been 2 landfalls along the coast of Myanmar, in 2017, 2023. According to the long-term statistical data (119 years up to 2005) of DMH, cyclones in Myanmar mainly make landfall in April-May and October-December, which are before/after the rainy season. In the Bay of Bengal, about 10 cyclones including depression-level tropical cyclones occur annually, and the frequency of cyclone occurrence increases mainly from May to December. However, cyclones with strong intensity never made landfall in the Bay of Bengal from June to September after the start of the rainy season.

Cyclone damage in Myanmar is characterized by storm and heavy rain, as well as frequent storm surge damage. The most severe cyclone in the past was Cyclone Nargis in May 2008, which caused severe storm surge damage. Cyclone Nargis occurred in the central part of the Bay of Bengal on April 27, 2008. It initially headed toward India, but then suddenly changed its course to the east. Cyclone Nargis made landfall in the Ayeyarwaddy River Delta in Myanmar on May 2, and disappeared near the border between Myanmar and Thailand the next day. The coastal area where Nargis made landfall and the Ayeyarwaddy River Delta are topographic conditions that cover a wide area of low-lying land with a small difference in elevation from sea level. Conditions such as the cyclone’s wind direction, air pressure, and path influenced the occurrence of storm surge damage. This resulted in serious storm surge damage, the worst ever recorded from a cyclone in Myanmar. There are records that the storm surge water level is 3-4 m in the main basin of the Yangon River, and the maximum is over 7 m. In recent years, major cyclones that caused severe damage in Myanmar occurred in 1968 (over 1,000 deaths) and 1975 (over 300 deaths). However, the number of deaths caused by Nargis is an unprecedented over 80,000.

Characteristics of Flood Occurrence in Myanmar

Myanmar area has a high rainfall due to its monsoon climate, and floods occur almost every year during the rainy season. The table below shows the monthly numbers and proportion of major flood events that occurred between 1997 and 2007, according to DMH the table below shows that floods were concentrated from June to October, especially from July to August. According to statistics from DMH, the Sagaing Region in northern Myanmar has experienced about half of all floods in the past in Myanmar. The Yangon and Mandalay Regions have also had a relatively high number of flood events. Additionally, flood has been reported in Kachin, Bago, Mon, Kayin, and Rakhine States. The figure below is a hazard map created through a joint project by UN agencies. In the vicinity of Yangon, the low-lying delta area along the lower stream of Ayeyarwaddy River is particularly vulnerable to flood and storm surge. While most flooding in the area is caused by river overflow, severe damage was inflicted by storm surge during Cyclone Nargis in 2008. In the Yangon Region, almost all areas except for inside of Yangon city and northern parts of Yangon are exposed to flood hazards. Specifically, many areas along the Yangon River and near its mouth of the river have experienced frequent flood events in the past.

Prediction of the La Nina occurrence in 2024 and its impact for Myanmar

Many meteorological departments in global have predicted the La Nina event later 2024. The El Nino/La Nina are phenomena in which sea surface temperatures in the central and eastern equatorial Pacific Ocean area continue to be higher or lower than normal for several months to a year. Some meteorological departments in global monitor the sea surface temperatures in the region, and the National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) in US calls the El Nino when the three-month average sea surface temperature is 0.5°C above normal, and the La Nina when it is 0.5°C below normal. The case where neither is the case is called the Neutral state. The El Nino and La Nina are thought to be one of the causes of extreme weather in global. In Southeast Asia, such as Myanmar, the El Nino period tends to be dryer with higher temperatures and less rainfall than usual, while the La Nina period tends to have lower temperatures and more rainfall than usual. NOAA predicts that the current El Niño is weakening and moving toward neutral, and that a La Niña is likely to develop later this year. Meteorological departments in Thailand, Japan, Australia, and other countries have also announced similar forecasts. According to NOAA’s latest forecast in June, the average sea surface temperature from June to August is most likely to be neutral, but there is a 65% chance that La Nina will occur from July to September, additionally at least will continue until the beginning of next year. The above situation suggests that the La Nina may develop during 2024 rainy season, resulting in a heavier rainfall than usual. And, according to DMH’s latest forecast in 28 June for the mid monsoon period (July-August), rain or thundershower will be expected above normal in Lower Sagaing, Mandalay, Magway Regions and (Southern and Eastern) Shan State and about normal in others region including Yangon. It is important for companies to aware the latest status of flood risks and countermeasures in normal phase, and to confirm and strengthen responses before/after floods by reviewing plans and conducting drills. Please refer to the following page for examples of responses by phase normal and before/after flood and cyclone, and examples of risk checklist.

References

Meteorology | Department of Meteorology and Hydrology (Myanmar) https://www.moezala.gov.mm/meteorology
Cyclone Disaster | Department of Meteorology and Hydrology (Myanmar) https://www.moezala.gov.mm/cyclone-disaster%20
About Tropical Cyclones | Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration https://www.pagasa.dost.gov.ph/information/about-tropical-cyclone
Frequently Asked Questions on Tropical Cyclones and Marine Weather Services | India Meteorological Department https://rsmcnewdelhi.imd.gov.in/images/pdf/faq.pdf
Tropical Cyclone Information: Scale and intensity of the tropical cyclone | Japan Meteorological Agency https://www.data.jma.go.jp/multi/cyclone/cyclone_caplink.html?lang=en
Preliminary Report for Cyclone (2014-2023) | India Meteorological Department https://rsmcnewdelhi.imd.gov.in/report.php?internal_menu=MjY=
Hazard Profile of Myanmar (July 2009) | Department of Meteorology and Hydrology (Myanmar) etc. https://reliefweb.int/report/myanmar/hazard-profile-myanmar
Flood Assessment for Cyclone Affected Yangon Capital Area, Myanmar (5 May 2008) | UNOSAT https://disasterscharter.org/image/journal/article.jpg?img_id=22572690&t=1698937873907
ENSO: Recent Evolution, Current Status and Predictions (24 June 2024) | Climate Prediction Center, NOAA https://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/lanina/enso_evolution-status-fcsts-web.pdf
Monsoon Weather forecast | Department of Meteorology and Hydrology (Myanmar) https://www.moezala.gov.mm/moonson-weather-forecast
_______________________________________________________________________
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a risk-related service company of the MS&AD Insurance Group, which conducts consulting related to risk management and research in a wide range of fields.
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd. is a risk management company based in Bangkok, Thailand. We provide various risk consulting services in Southeast Asian countries, including fire risk surveys, natural disaster and industrial accident risk surveys for factories, warehouses, commercial facilities, etc., traffic risks, BCP Establishment support, cyber risks, etc.
For inquiry, please feel free to contact the below information, or nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. International Section, Risk Consulting Division TEL. +66-(0)-3-5296-8920 https://www.irric.co.jp/en/corporate/index.php
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd. 175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailandฅ TEL: +66-(0)-2679-5276 FAX: +66-(0)-2679-5278 https://www.interriskthai.co.th/
The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.

No tag assigned

สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน


สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน

[สรุป]

  • ปริมาณน้ำฝนของปีพ.ศ. 2566 ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565)
  • ค่าดัชนี ONI บ่งบอกว่าปรากฏการณ์เอลนีโญนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้กรมอุตุนิยมวิทยายังได้ออกประกาศว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญมาตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน และจะยังคงต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนมีนาคมของปีถัดไป
  • แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วประเทศไทยจะยังคงประสบปัญหาภัยแล้ง แต่อาจมีฝนตกหนักในบางพื้นที่
  • ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนหลักในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนเหนือมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสักนั้นอยู่ในระดับวิกฤต
  • ระดับน้ำของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา และควรมีการสังเกตการณ์สถานการณ์ของแม่น้ำในจังหวังสุโขทัยอย่างใกล้ชิด

ปริมาณน้ำฝน

แผนภาพที่ 1: สถานการณ์ฝน (ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา)

          เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2565) พบว่าปริมาณน้ำฝนสะสมของปีนี้ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคกลางดังแผนภาพด้านบน ปริมาณน้ำฝนในปีพ.ศ.2565 (ถึงวันที่ 18 กันยายน) นั้นอยู่ที่ 600-3000 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนในปีพ.ศ.2566 (ถึงวันที่ 18 กันยายน) อยู่ที่ 200-3000 มิลลิเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปกติของปริมาณน้ำฝนแล้ว พบว่าปริมาณน้ำฝนสะสมของปีพ.ศ.2566 ลดลงโดยเฉลี่ย 200 มิลลิเมตร หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)

การพยากรณ์อากาศ

เดือนตุลาคมเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาว ส่งผลให้อาจมีสภาพอากาศแปรปรวน โดยมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนสุทธิของประเทศไทยอาจต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 10% และมีอุณหภูมิเฉลี่ย*สูงขึ้น อย่างไรก็ตามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อาจส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในบางพื้นที่ หมายเหตุ : อุณหภูมิเฉลี่ย คือ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)

แผนภาพที่ 2 : พยากรณ์อากาศเดือนตุลาคม (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา)

สถานการณ์เอลนีโญ

เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นกว่าค่าปกติในมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่บริเวณใกล้เส้นวันที่ไปจนถึงชายฝั่งของอเมริกาใต้และคงอยู่เช่นนั้นประมาณหนึ่งปี ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าปริมาณฝนอาจลดลงและเกิดภัยแล้ง และจากค่าดัชนี ONI ที่แสดงในรูปด้านล่าง พบว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล (SST) ซึ่งสูงกว่า 0.5 เป็นอย่างต่ำในช่วงเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน หากข้อมูล SST ของเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมยังคงมีแนวโน้มดังกล่าว อาจสามารถยืนยันได้ว่าเกิดเอลนีโญจริง นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบข้อมูล SST ของปีนี้กับปีพ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย ค่าต่าง ๆ จะยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า โดยกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ประเทศไทยจะเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนิโญตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนมีนาคม ปีพ.ศ. 2567 เป็นอย่างต่ำ ซึ่งอาจนำไปสู่ภัยแล้งได้ เมื่อมองย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2558 ภัยแล้งที่รุนแรงนั้นส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อประเทศไทย ดังนี้
  • ปริมาณฝนรายปีต่ำที่สุดที่เคยมีมานับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524
  • ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหมดอยู่ในระดับต่ำอย่างมาก
  • เหตุการณ์ไฟป่าเพิ่มขึ้น นำไปสู่ปัญหามลพิษทางอากาศ
  • ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักบางสายลดต่ำลง
  • ผลผลิตทางการเกษตรลดลงอย่างมีนัยสำคัญและราคาผลผลิตหลายรายการเพิ่มสูงขึ้น
  • กำลังการผลิตในระบบชลประทานของกรุงเทพฝั่งตะวันออกและจังหวัดปทุมธานียังคงขาดแคลน อีกทั้งยังพบปัญหาเกี่ยวกับการประปาอุตสาหกรรมในจังหวัดลำพูน

ตารางที่ 1 : ค่าดัชนี ONI (ที่มา : NOAA)

          IEAT (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) คาดการณ์ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญในปีนี้จะไม่รุนแรงมากนัก และ FTI (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) กล่าวว่าภาคเอกชนได้ทำการสังเกตการณ์สถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และเตือนให้ภาครัฐเตรียมพร้อมสำหรับภัยแล้งระยะยาว ซึ่งอาจกินระยะเวลาถึง 2-3 ปี โดยหากสถานการณ์ภัยแล้งไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม กระดาษ ปิโตรเคมี สิ่งทอ โลหะ พลังงาน และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ช่วงภัยแล้งปีพ.ศ. 2558 โรงงานหลายแห่งใช้มาตรการต่าง ๆ ในการรับมือ เช่น การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ การซื้อน้ำอุตสาหกรรมจากบริษัทเอกชน ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทเหล่านี้ในการรับมือต่อภัยแล้ง คือ การสังเกตการณ์สภาพอากาศ และให้ความสำคัญกับข้อมูลระดับน้ำของแหล่งน้ำอุตสาหกรรมที่จะนำมาใช้ในนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาลและหน่วยงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรม

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพล)

แผนภาพที่ 3 : ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (52%) ณ วันที่ 18 กันยายน (ที่มา : ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ)

แผนภาพที่ 4 : ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (45%) ณ วันที่ 18 กันยายน (ที่มา : ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ)

          ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเขื่อนสิริกิติ์นั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมามีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจาก 38% เป็น 52% โดยที่ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนทั้งสองแห่งยังคงสูงกว่าปริมาณน้ำกักเก็บในปี พ.ศ. 2558

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อย)

 

แผนภาพที่ 5 : ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (10%) ณ วันที่ 18 กันยายน (ที่มา : ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ)

แผนภาพที่ 6 : ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (33%) ณ วันที่ 18 กันยายน (ที่มา : ระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ)

          แนวโน้มของปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนป่าสักเปลี่ยนจากลดลงเป็นเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝน อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงอยู่ในระดับวิกฤตซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานในกิจกรรมทางการเกษตร นอกจากนี้ปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนแควน้อยก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน

กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน

ระดับน้ำโดยรวมในแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับภาคเหนือในเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ระดับน้ำในสถานีวัดระดับน้ำส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และระดับน้ำในจังหวัดสุโขทัยอยู่ในระดับวิกฤติ

แผนภาพที่ 7 : สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 18 กันยายน 2566 (ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ : SWOC)

หมายเหตุ :  – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที                     – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร                     – ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร

กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

              ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีความใกล้เคียงกับระดับน้ำในเดือนที่ผ่านมา อัตราการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาด้านล่างเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นจาก 55 ลบ.ม./วินาที ในเดือนมิถุนายน เป็น 380 ลบ.ม./วินาที ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนมีปริมาณน้ำสูง อย่างไรก็ตามสถานการณ์ดังกล่าวไม่มีความน่ากังวลแต่อย่างใด

แผนภาพที่ 8 : สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 18 กันยายน 2566 (ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ : SWOC)

หมายเหตุ :  ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที                      – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที                      – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
  อ้างอิง http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php https://www.tmd.go.th/forecast/monthly https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/judprakai/1078941 https://origin.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/ensostuff/ONI_v5.php https://www.posttoday.com/general-news/699024 https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1082186 http://water.rid.go.th/flood/flood/daily.pdf https://www.thaiwater.net/water/dam/large http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up18092023.jpg http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low18092023.jpg      

สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน


สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน

[สรุป]

  • เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565) พบว่าปริมาณฝนในปีนี้ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ทางตอนบนของประเทศ
  • เนื่องจากได้รับผลกระทบจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้สภาพอากาศโดยรวมของประเทศไทยในเดือนมีนาคมนั้นมีอากาศร้อนเป็นส่วนมาก และมีฝนตกเป็นบางส่วน
  • ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนหลักในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาทุกแห่งมีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิติ์จะสูงกว่าปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565) และต่ำกว่าปีพ.ศ. 2554 เล็กน้อย ทว่าปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพลนั้นจะสูงกว่าปริมาณน้ำกักเก็บในปีพ.. 2554 และ 2565
  • ในส่วนของแม่น้ำและลำคลองสายหลักในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่มีความน่ากังวลแต่อย่างใด

ปริมาณน้ำฝน

เปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2565 พบว่าปริมาณน้ำฝนสุทธิตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ของปีนี้มีระดับต่ำกว่ามากโดยเฉพาะในพื้นที่ตอนบนของประเทศ โดยปริมาณน้ำฝนสุทธิทางตอนบนของประเทศอยู่ในช่วง 50 – 200 มิลลิเมตร ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนสุทธิทางตอนบนของประเทศส่วนใหญ่ในปีนี้อยู่ที่ 5 – 50 มิลลิเมตร

การพยากรณ์อากาศ

ในเดือนมีนาคม สภาพอากาศในช่วงครึ่งแรกของเดือนจะร้อนเป็นบางช่วง รวมถึงมีอากาศร้อนทั่วทั้งประเทศ ซึ่งอาจมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 40 – 43 องศาเซลเซียสในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนบนของประเทศ อย่างไรก็ตามจะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมเป็นระยะ ๆ ส่งผลให้มีฝนตกเป็นระยะด้วยเช่นกัน ซึ่งในภาพรวมนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าปกติและมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติเล็กน้อย

การจัดการน้ำในปีพ.. 2023

ประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้ดำเนินการตามมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน 13 มาตรการ ในปีพ.ศ. 2565 โดยมีการสนับสนุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น เครื่องสูบน้ำ เป็นจำนวน 2,260 เครื่อง ในพื้นที่ 58 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม โดยที่งบประมาณน้ำทั่วประเทศหลังฤดูฝน (วันที่ 1 พฤศจิกายน) นั้นอยู่ที่ 64,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งมากกว่าปีพ.ศ. 2564 อยู่ที่ 5,495 ล้าน ลบ.ม. ในส่วนของการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งในปีนี้ ได้มีการเตรียมน้ำไว้ 43,740 ล้าน ลบ.ม. โดยมีน้ำปริมาณ 14,074 ล้าน ลบ.ม. ในเขื่อนหลัก 4 แห่งบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา แบ่งเป็น 9,100 ล้าน ลบ.ม. (62%) สำรองไว้สำหรับช่วงฤดูแล้ง และ 5,474 ล้าน ลบ.ม. (38%) สำรองไว้สำหรับช่วงต้นฤดูฝน

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพล)

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (58%) ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (75%) ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิติ์ในปัจจุบันต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีพ.ศ. 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่เล็กน้อย ในทางกลับกัน ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพลนั้นมีปริมาณมากกว่าปีพ.ศ. 2554 และ 2565

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อย)

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (55%) ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (60%) ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อยมีแนวโน้มใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีปริมาณน้ำกักเก็บต่ำกว่าปีพ.ศ. 2565 แต่สูงกว่าปีพ.ศ. 2554 โดยที่ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนทั้งสองแห่งมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน

กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน

ระดับน้ำในแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำ เช่น ระดับน้ำในแม่น้ำน่านที่จังหวัดน่าน พิษณุโลก และนครสวรรค์ มีระดับต่ำกว่าตลิ่ง 7-8 เมตร โดยที่ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา (มกราคม)

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 28 กุมภาพันธ์ 2566

หมายเหตุ :  – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที                      – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร                      – ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร

กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

อัตราการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาด้านล่างเขื่อนเจ้าพระยามีความใกล้เคียงกับอัตราการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเดือนมกราคม (70 ลบ.ม./วินาที) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูฝนที่มีอัตราการไหลมากกว่า 800 ลบ.ม./วินาที จึงไม่มีความน่ากังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างแต่อย่างใด

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 28 กุมภาพันธ์ 2566

หมายเหตุ :  – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที                      – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตรระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร
อ้างอิง http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php https://www.tmd.go.th/forecast/monthly http://water.rid.go.th/flood/flood/daily.pdf https://www1.rid.go.th/index.php/th/2019-04-26-19-42-45/1473-30-01-2566 https://www3.tmd.go.th/media/forecast-threemonthcountry/newsjfm_2023.pdf https://www.thaiwater.net/water/dam/large http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up.php?cal2=24022023 http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low.php?cal2=24022023

No tag assigned

สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน


สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน

[สรุป]

  • ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมสูงกว่าปริมาณน้ำฝนของภาคใต้ในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก
  • ปริมาณและการกระจายตัวของฝนในช่วงครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคมยังคงอยู่ในระดับต่ำ
  • อาจมีฝนตกในหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น
  • ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหมดบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยามีระดับต่ำกว่าช่วงต้นเดือนมิถุนายนเล็กน้อย อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำกักเก็บส่วนมากค่อนข้างสูงกว่าปีที่ผ่านมา
  • ระดับน้ำในแม่น้ำตอนบนและตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยามีความใกล้เคียงกับระดับน้ำช่วงต้นเดือนมิถุนายน โดยอยู่ในระดับปกติถึงระดับต่ำ จึงไม่มีความน่ากังวลเรื่องเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด

ปริมาณน้ำฝน

ปริมาณน้ำฝนจนถึงช่วงต้นเดือนกรกฎาคมเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา จัดว่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศ ปริมาณน้ำฝนสะสมในประเทศโดยรวมอยู่ในช่วง 800-2,000 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นผลกระทบจากลานีญา โดยหากเทียบกับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยแล้ว ปริมาณน้ำฝนสะสมในปีนี้จัดว่าสูงขึ้นมากโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้

หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)

การพยากรณ์อากาศ

จากการพยากรณ์อากาศประจำเดือนโดยกรมอุตุนิยมวิทยา ปริมาณและการกระจายตัวของฝนในช่วงครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคมจะยังคงอยู่ที่ 20-30% ของพื้นที่ ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม โดยจะมีฝนตกในหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากการอ่อนกำลังลงของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของเดือน จากนั้นมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะค่อย ๆ มีกำลังแรงขึ้น และจะมีร่องมรสุมพาดผ่านตามแนวภาคเหนือเป็นระยะในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม ในส่วนของการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในเดือนกรกฎาคม ปริมาณน้ำฝนส่วนมากจะมีความใกล้เคียงกับค่าปกติ ยกเว้นปริมาณน้ำฝนสุทธิของพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อาจต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 10% ข้อควรระวังในเดือนกรกฎาคม จะมีพายุโซนร้อนที่ก่อตัวในภูมิภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ และเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์เข้าสู่ทะเลจีนใต้ ดังนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้และชายฝั่งตะวันออก  หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพล)

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (37%) ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (42%) ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนสิริกิติ์จนถึงวันที่ 4 กรกฎาคมมีระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แม้ว่าปริมาณน้ำกักเก็บในช่วงต้นปีจะอยู่ในระดับต่ำ ในส่วนของเขื่อนภูมิพล ปริมาณน้ำกักเก็บค่อนข้างสูงกว่าปีที่ผ่านมา แม้ว่าปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนทั้งสองกลับมีแนวโน้มลดลงซึ่งต่างจากปีพ.ศ. 2554 อย่างสิ้นเชิง

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อย)

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (19%) ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (29%) ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อยและเขื่อนป่าสักมีระดับต่ำกว่าช่วงต้นปีค่อนข้างมาก ทว่าปริมาณน้ำกักเก็บมีระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ระดับน้ำของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่านมีความใกล้เคียงกับระดับน้ำในช่วงต้นเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีระดับต่ำกว่าฝั่งมาก จึงไม่มีความน่าวิตกกังวลด้านเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 4 กรกฎาคม 2565

           หมายเหตุ :  – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร – ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีความใกล้เคียงกับระดับน้ำในช่วงต้นเดือนมิถุนายน โดยมีระดับต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำอย่างเห็นได้ชัด จึงไม่มีความน่ากังวลเรื่องเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด

 สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา

4 กรกฎาคม 2565

หมายเหตุ :  ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที                     – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วัน                     – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร References
http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php https://www.tmd.go.th/monthly_forecast.php
https://www.thaiwater.net/water/dam/large
http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up.php?cal2=04072022
http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up.php?cal2=03062022
http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low.php?cal2=04072022
http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low.php?cal2=03062022
__________________________________________________________________________________________________________
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a MS&AD Insurance Group company specialized in risk management survey research and consulting services. For inquiry about consultation and seminar etc. for companies expanding business in Thailand, please feel free to contact the nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc.
International Section, Corporate Planning Department
TEL.03-5296-8920
http://www.irric.co.jp
__________________________________________________________________________________________________________
InterRisk Asia (Thailand) is a MS&AD Insurance Group company which was established in Thailand to provide risk management services, such as fire safety, flood risk management, electrical safety and risk consulting services, such as automotive risk assessment, occupational safety and burglary risk survey to our clients in Thailand. For inquiry, please feel free to contact us.
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd.
175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailand
TEL: +66-(0)-2679-5276
FAX: +66-(0)-2679-5278
https://www.interriskthai.co.th/
__________________________________________________________________________________________________________
The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.
Copyright 2022 MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. All Rights Reserved

No tag assigned

ความสำคัญของหมวกกันน็อคและเข็มขัดนิรภัย

July 11, 2022
Chalisa Masuk

ความสำคัญของหมวกกันน็อคและเข็มขัดนิรภัย

[สรุป]

  • การคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถลดความรุนแรงของอุบัติหตุได้ 40% สำหรับผู้โดยสารเบาะหน้า และ 70% สำหรับผู้โดยสารเบาะหลัง
  • การสวมใส่หมวกกันน็อคมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้ประมาณ 43% สำหรับผู้ขับขี่ และ 58% สำหรับผู้โดยสาร
  • การคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกประเภทและถูกวิธีสามารถลดโอกาสเสียชีวิตและการบาดเจ็บอย่างรุนแรงได้
  • เพื่อความปลอดภัยควรทำการเลือกและติดตั้งคาร์ซีทสำหรับเด็กอย่างเหมาะสม
  • บุคคลภายในรถทุกคนจำเป็นต้องคาดเข็มขัดนิรภัย และสวมใส่หมวกกันน็อคในกรณีขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ หากฝ่าฝืนอาจมีโทษปรับ 400-5,000 บาท

เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของคุณระหว่างอุบัติเหตุทางถนน?

แรงกระแทกของรถยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 60 กม./ชม. นั้นเทียบเท่ากับแรงกระแทกจากการที่รถยนต์ ร่วงจากอาคารสูง 14 เมตร หรืออาคาร 5 ชั้น โดยที่ความเร็วของผู้โดยสารขณะเดินทางจะเทียบเท่ากับความเร็วรถ หากเกิดอุบัติเหตุในขณะที่ผู้โดยสารไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ส่วนหัว ใบหน้า และร่างกายของผู้โดยสารจะถูกเหวี่ยงเข้าหาพวงมาลัยและกระจกหน้ารถจนส่งผลให้หมดสติหรือเสียชีวิตได้ ในกรณีของการเกิดอุบัติเหตุขณะที่ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค แรงเหวี่ยงอาจทำให้ศีรษะกระแทกพื้นหรือของแข็ง และนำไปสู่การบาดเจ็บ โดยมีความเสี่ยงที่จะมีอาการเสียเลือดจากบาดแผลบนศีรษะ และแม้ว่าจะไม่มีบาดแผลที่ภายนอก แต่การถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดอาการสมองช้ำ เลือดออกภายในศีรษะหรือสมอง ความเสียหายต่อระบบประสาทและระบบหลอดเลือดภาวะอัมพาต และเนื้องอกในสมองได้

ประโยชน์ของการคาดเข็มขัดนิรภัยและสวมใส่หมวกกันน็อค

เข็มขัดนิรภัยจะช่วยรักษาตำแหน่งของร่างกายให้อยู่บนเบาะนั่ง ซึ่งออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับระบบถุงลมนิรภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชน โดยถุงลมนิรภัยนั้นจะรองรับส่วนหัวและหน้าอกจากด้านหน้า ในขณะที่เข็มขัดนิรภัยจะช่วยล็อคร่างกายให้อยู่บนเบาะนั่ง หากผู้โดยสารไม่ทำการคาดเข็มขัดนิรภัยระบบการทำงานที่ออกแบบมาเพื่อให้ทำงานร่วมกับถุงลมก็จะไม่มีประสิทธิภาพ การคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 40% สำหรับผู้โดยสารเบาะหน้า และ 70% สำหรับผู้โดยสารเบาะหลัง การสวมหมวกกันน็อคสามารถช่วยลดผลกระทบจากอุบัติเหตุที่ศีรษะ เนื่องจากเยื่อบุด้านในของหมวกสามารถดูดซับแรงกระแทกได้ การสวมหมวกกันน็อคแบบเต็มใบที่ครอบคลุมทั้งใบหน้าจึงสามารถลดแรงกระแทกที่ศีรษะกรณีเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างมาก จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติเกี่ยวกับอุบัติเหตุรถชนพบว่า หมวกกันน็อคสำหรับมอเตอร์ไซค์สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บที่ศีรษะได้ 50-70% นอกจากนี้การสวมหมวกกันน็อคยังช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้ประมาณ 43% สำหรับผู้ขับขี่ และ 58% สำหรับผู้โดยสาร การคาดเข็มขัดนิรภัยและการสวมหมวกกันน็อคอย่างถูกประเภทและถูกวิธีสามารถลดโอกาสเสียชีวิตและการบาดเจ็บอย่างรุนแรงได้

การใช้งานเข็มขัดนิรภัยและหมวกกันน็อคเพื่อความปลอดภัย

การคาดเข็มขัดนิรภัย สำหรับผู้โดยสารทั่วไป ควรคาดเข็มขัดนิรภัยผ่านบริเวณกระดูกไหปลาร้าให้แน่นโดยไม่พลิกสายเพื่อให้ตัวเข็มขัดสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากด้านขอบบางของเข็มขัดนั้นสามารถบาดผิวหนังได้ง่าย เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่คอและใต้รักแร้ จังควรรัดเข็มขัดในแนวทแยงพาดหัวไหล่ นอกจากนี้ควรคาดเข็มขัดนิรภัยแนวนอนไว้เหนือบริเวณอุ้งเชิงกรานและไม่ควรพาดผ่านช่องท้องเพื่อลดแรงกดจากเข็มขัดในขณะเกิดอุบัติเหตุ สำหรับสตรีมีครรภ์ ควรคาดเข็มขัดนิรภัยเหนือหน้าตักและหย่อนสายเข็มขัดไปด้านข้างเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เข็มขัดรัดหน้าท้องโดยตรง สามารถใช้หมอนหรือแผ่นรองบริเวณหน้าท้องส่วนล่างเพื่อลดการเสียดสีและแรงกดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ นอกจากนี้การปรับเบาะนั่งให้ห่างจากพวงมาลัยประมาณ 10 นิ้ว ก็สามารถช่วยลดการบาดเจ็บจากการกระตุกของเข็มขัดนิรภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน สำหรับเด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่า 140 เซนติเมตร หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 30 กิโลกรัม ไม่ควรคาดเข็มขัดนิรภัยที่มากับรถยนต์โดยตรงเนื่องจากอาจอยู่ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ควรติดตั้งคาร์ซีทในรถโดยยึดกับเบาะหลังและใช้สายรัดเพื่อกระชับร่างกายของเด็ก คาร์ซีทมีหลายประเภทสำหรับทารกแรกเกิดถึงเด็กอายุ 12 ปี ซึ่งควรเลือกและติดตั้งอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย สำหรับเด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่า 140 เซนติเมตร หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 30 กิโลกรัม ไม่ควรคาดเข็มขัดนิรภัยที่มากับรถยนต์โดยตรงเนื่องจากอาจอยู่ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ควรติดตั้งคาร์ซีทในรถโดยยึดกับเบาะหลังและใช้สายรัดเพื่อกระชับร่างกายของเด็ก คาร์ซีทมีหลายประเภทสำหรับทารกแรกเกิดถึงเด็กอายุ 12 ปี ซึ่งควรเลือกและติดตั้งอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย การสวมใส่หมวกกันน็อค สิ่งที่ควรรู้ในการเลือกหมวกกันน็อค คือ หมวกกันน็อคดังกล่าวนั้นตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยหรือไม่ โดยมาตรฐานในประเทศไทย คือ ใบรับรอง มอก. นอกจากนี้เพื่อความปลอดภัยในการสวมใส่ ระบบยึดหมวกกันน็อค หรือสายรัดคางควรถูกรัดไว้ที่ใต้คางเพื่อรักษาตำแหน่งหมวกกันน็อคให้อยู่บนศีรษะขณะขับขี่ หากหมวกกันน็อคชำรุดเสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุ ควรทำการเปลี่ยนหมวกกันน็อคทันทีและไม่นำกลับมาใช้อีก หมวกกันน็อคนั้นมีอายุการใช้งาน 3 ปี ซึ่งควรเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน โดยหมวกกันน็อคมีหลากหลายประเภท ดังนี้
  • หมวกกันน็อคแบบเต็มใบ เป็นประเภทที่ให้การปกป้องสูงสุดเนื่องจากครอบศีรษะและคางทั้งหมด
  • หมวกกันน็อคแบบเปิดหน้า เป็นประเภทที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเดียวกันกับหมวกกันน็อคแบบเต็มใบ ทว่าไม่มีอุปกรณ์ป้องกันคาง
  • หมวกกันน็อคแบบครึ่งใบ เป็นประเภทที่ป้องกันเฉพาะศีรษะ ซึ่งไม่แนะนำให้สวมใส่ เนื่องจากมีแนวโน้มที่หมวกอาจหลุดออกจากศีรษะได้เมื่อโดนแรงกระแทก

ข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย

ผู้โดยสารในรถยนต์ทุกคนจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย (ผู้ขับขี่ ผู้โดยสารด้านหน้า และผู้โดยสารด้านหลัง) เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือแท็กซี่ โปรดอย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 500 บาทต่อผู้โดยสารหนึ่งคน นอกจากนี้ผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางโดยรถโดยสารและรถตู้ขนาดเล็กก็จำเป็นต้องคาดเข็มขัดนิรภัยด้วยเช่นกัน ในกรณีที่พบผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัย อาจมีโทษปรับสูงสุดคนละ 5,000 บาท อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 4 เดือนข้างหน้า หรือในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 ว่า “เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี หรือมีส่วนสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร หรือน้อยกว่า จะต้องนั่งในเบาะเสริมหรือที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) และผู้โดยสารทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา โดยหากฝ่าฝืนอาจมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท” สำหรับโทษปรับของการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์โดยไม่สวมหมวกกันน็อค ตามประกาศล่าสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีรายละเอียดดังนี้ “หากผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกกันน็อค อาจมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 400 บาท ผู้โดยสารที่ไม่สวมหมวกกันน็อคอาจมีโทษปรับสูงสุด 800 บาท หรือรวมเป็น 1,200 บาท”

สรุป

     อุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ความประมาทเลินเล่อในการคาดเข็มขัดนิรภัยและสวมหมวกกันน็อคเองก็จัดเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตดังกล่าว จุดประสงค์ของการเดินทางโดยใช้รถยนต์และมอเตอร์ไซค์นั้น นอกจากการเดินทางส่วนตัวแล้วยังรวมไปถึงการเดินทางเพื่อธุรกิจ อุบัติทางถนนจึงเป็นความเสี่ยงที่บริษัทไม่ควรมองข้าม การจัดให้มีการอบรมขับขี่ปลอดภัยให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพอย่างมากในการลดความเสี่ยงและความรุนแรงของอุบัติเหตุทางถนน โดยบริษัท InterRisk Asia (Thailand) นั้นมีบริการจัดอบรมด้านการขับขี่ที่ปลอดภัยด้วยเครื่องมือ KYT สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ หากท่านสนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ผ่านเว็บไซต์ของเรา

อ้างอิง

https://www.dlt.go.th/site/trang/m-news/6648/view.php?_did=40610 https://www.thairath.co.th/news/local/504188 https://thematter.co/brandedcontent/thaihealth-helmet-03/74440 http://roadsafety.disaster.go.th/ https://www.bangkokbiznews.com/news/1003907 https://ratchakitcha2.soc.go.th/pdfdownload/?id=139A028N0000000000500 https://www.thaipbsworld.com/kids-under-6-in-cars-in-thailand-must-be-secured-in-child-seats-from-september/ https://www.cdc.gov/injury/features/child-passenger-safety/index.html http://roadsafety.disaster.go.th/upload/minisite/file_attach/196/5bb5e0e621c38.pdf https://learndriving.tips/learning-to-drive/proper-way-to-wear-seat-belt/

No tag assigned

สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน


สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน

Summary

  • ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้
  • คาดว่าจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้
  • คาดว่าปริมาณฝนในช่วงครึ่งหลังของเดือนมิถุนายนจะลดลงเนื่องจากการอ่อนกำลังลงของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
  • ปริมาณการกักเก็บน้ำในเขื่อนใหญ่ทุกแห่งบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงต้นเดือนพฤษภาคมเล็กน้อยเนื่องจากการเข้าสู่ฤดูฝน และปริมาณการกักเก็บส่วนมากนั้นค่อนข้างสูงกว่าปีที่ผ่านมา
  • ระดับน้ำของแม่น้ำยม (แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน) สูงกว่าช่วงต้นเดือนพฤษภาคมอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำโดยรวมของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและล่างยังคงอยู่ในระดับปกติถึงระดับต่ำ ไม่มีความน่ากังวลเรื่องเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด

ปริมาณน้ำฝน

ปริมาณน้ำฝนจนถึงช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาแล้วมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ ปริมาณน้ำฝนสะสมในประเทศโดยรวมอยู่ในช่วง 200-1,200 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นผลกระทบจากลานีญา โดยหากเทียบกับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยแล้ว ปริมาณน้ำฝนสะสมในปีนี้จัดว่าสูงขึ้นมากโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)

การพยากรณ์อากาศ

จากการพยากรณ์อากาศประจำเดือนโดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าประมาณ 40-60% ของพื้นที่จะมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน และอาจมีช่วงที่มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้นั้นอาจมีปริมาณฝนเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 60-80% ของพื้นที่ โดยมีฝนตกในหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะลดลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน ซึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนกำลังลงของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศในช่วงครึ่งแรกของเดือน นอกจากนี้อาจมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะ และร่องมรสุมพาดผ่านตามภาคใต้ของจีนในช่วงครึ่งหลังของเดือน การคาดการณ์ปริมาณฝนในเดือนมิถุนายน ปริมาณฝนสุทธิของประเทศไทยตอนบนจะมีความใกล้เคียงกับค่าปกติ ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนสุทธิของภาคใต้จะต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 10% ข้อควรระวังในเดือนมิถุนายน จะมีพายุโซนร้อนที่ก่อตัวในภูมิภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเคลื่อนผ่านฟิลิปปินส์และเข้าสู่ทะเลจีนใต้ ดังนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้และชายฝั่งภาคตะวันออก  หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพล) ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (39%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (45%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิติ์จนถึงวันที่ 29 พฤษภาคมเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แม้ว่าปริมาณน้ำกักเก็บในช่วงต้นปีจะอยู่ในระดับต่ำ ในส่วนของเขื่อนภูมิพลนั้นมีแนวโน้มที่ปริมาณน้ำกักเก็บจะแตกต่างจากปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อย)

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (30%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (38%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อยและเขื่อนป่าสักเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีนั้นต่ำกว่ามาก ทว่าปริมาณน้ำกักเก็บจะสูงกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ระดับน้ำของแม่น้ำยมเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะระดับน้ำของแม่น้ำในจังหวัดพิจิตร ในส่วนของแม่น้ำปิง วัง และน่านนั้นระดับน้ำไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนเจ้าพระยานั้นก็มีระดับน้ำที่ต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำเช่นกัน จึงไม่มีเรื่องน่าวิตกกังวลด้านเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 29 พฤษภาคม 2565

หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที                      – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร                      – ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ระดับน้ำต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีสถานการณ์น่าเป็นกังวลแต่อย่างใด

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 29 พฤษภาคม 2565

หมายเหตุ : ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที                     – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วัน                     – ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
References
http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php
https://www.tmd.go.th/monthly_forecast.php
https://www.thaiwater.net/water/dam/large
http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up.php?cal2=29052022
http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low.php?cal2=29052022
__________________________________________________________________________________________________________
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a MS&AD Insurance Group company specialized in risk management survey research and consulting services. For inquiry about consultation and seminar etc. for companies expanding business in Thailand, please feel free to contact the nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc.
International Section, Corporate Planning Department
TEL.03-5296-8920
http://www.irric.co.jp
__________________________________________________________________________________________________________
InterRisk Asia (Thailand) is a MS&AD Insurance Group company which was established in Thailand to provide risk management services, such as fire safety, flood risk management, electrical safety and risk consulting services, such as automotive risk assessment, occupational safety and burglary risk survey to our clients in Thailand. For inquiry, please feel free to contact us.
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd.
175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailand
TEL: +66-(0)-2679-5276
FAX: +66-(0)-2679-5278
https://www.interriskthai.co.th/
__________________________________________________________________________________________________________
The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.
Copyright 2022 MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. All Rights Reserved

No tag assigned

อาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทย

June 6, 2022
Patipon Wongsrikul

อาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทย

[สรุป]

  • ในปีพ.ศ. 2564 มีผู้ใช้งานภายในประเทศไทยถูกโจมตีทางไซเบอร์ 21% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 29%
  • มูลค่าความเสียหายเฉลี่ยของอาชญากรรมทางไซเบอร์ในปีพ.. 2564 เพิ่มขึ้นถึง 144% หรือ 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 72.6 ล้านบาท
  • บริษัทสาขาย่อยถูกใช้เป็นสื่อกลางในการบุกรุกไปยังระบบของบริษัทสำนักงานใหญ่
  • การฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารที่รวดเร็วสำหรับการเตรียมพร้อมรับมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ
อาชญากรรมทางไซเบอร์เป็นอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโดยมีจุดประสงค์ที่ผิดกฎหมาย เช่น การฉ้อโกง การขโมยข้อมูลยืนยันตัวตน หรือการละเมิดความเป็นส่วนตัว ไวรัสคอมพิวเตอร์เองก็เป็นหนึ่งในอาชญากรรมทางไซเบอร์ และอาจเป็นอาชญากรรมประเภทแรกผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตรู้จัก ไวรัสนั้นแพร่ระบาดในระบบคอมพิวเตอร์ สร้างความเสียหายให้กับไฟล์ ทำให้ระบบการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ผิดปกติ และสามารถจำลองตัวเองไปยังอุปกรณ์และระบบอื่น ๆ ได้ ไวรัสจัดเป็นมัลแวร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งครอบคลุมซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายทุกประเภท รวมถึงรหัสหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์เพื่อกระจายและสร้างความเสียหาย ขโมยข้อมูล และสร้างรายได้ให้กับเจ้าของไวรัส นอกจากนี้ยังมีแรนซัมแวร์ซึ่งสามารถล็อคไฟล์ของเป้าหมายได้ จนกว่าเป้าหมายจะจ่ายค่าไถ่เพื่อแลกกับการปลดล็อคไฟล์ดังกล่าว อาชญากรรมทางไซเบอร์เป็นปัญหาที่พบได้ในสังคมปัจจุบันเนื่องจากเทคโนโลยีมีการก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ทว่ามาตรการด้านความปลอดภัยสำหรับการปกป้องเทคโนโลยีและผู้ใช้งานไม่สามารถพัฒนาตามความก้าวหน้าดังกล่าวได้ทัน จึงส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง หน่วยงาน Cybersecurity Ventures ที่รวบรวมนักวิจัยชั้นนำของโลกคาดการณ์ว่าอาชญากรรมทางไซเบอร์จะเพิ่มขึ้น 15% ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า และมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปีพ.ศ. 2568 เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งจัดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่มีมูลค่ามากกว่าความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติในหนึ่งปีเป็นทวีคูณ สถานการณ์อาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทยเป็นอย่างไร ขอเชิญท่านมาหาข้อมูลที่น่าสนใจในจดหมายข่าวฉบับนี้โดยในประเทศไทย เหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ดังตารางด้านล่าง

ตารางที่ 1 ประเภทของอาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทย

ข้อมูลสถิติประวัติศาสตร์อาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 มีแนวโน้มลดลง ทว่าจำนวนกรณียังคงสูง โดยมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยของอาชญากรรมทางไซเบอร์ในปีพ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นถึง 144% หรือ 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 72.6 ล้านบาท) อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ บริการด้านกฎหมาย การก่อสร้าง การขายส่งและขายปลีก ระบบสาธารณสุข และนิคมอุตสาหกรรม นอกจากนี้ประเทศไทยยังอยู่ในอันดับที่ 6 ของประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก โดยมีประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากแรนซัมแวร์มากที่สุด จากแบบสอบถามของบริษัทไซเบอร์ในหลายประเทศ พบว่าผู้ใช้งานในประเทศไทยถูกโจมตีโดยอาชญากรทางไซเบอร์ประมาณ 21% ในปี 2564 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 29% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์อยู่ที่ 2,250 กรณี (ปีพ.ศ. 2561) 2,470 กรณี (ปีพ.ศ. 2562) 2,250 กรณี (ปีพ.ศ. 2563) และ 2,069 กรณี (ปีพ.ศ. 2564) ซึ่งจัดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม เหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ประเภทการบุกรุกลดลงในขณะที่การโจมตีด้วยโปรแกรมไม่พึงประสงค์และภัยคุกคามอื่น ๆ (เช่น การรวบรวมข้อมูล) เพิ่มมากขึ้นดังแผนภาพดังต่อไปนี้

แผนภาพที่ 1 จำนวนกรณีของเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทย

ตารางที่ 2 ตัวอย่างอาชญากรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ในประเทศไทย

หลักการของมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์

เนื่องจากในบริษัทสาขาต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทยนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับสำนักงานใหญ่แล้วมีทรัพยากร (บุคลากร, เวลา และงบประมาณ) ที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ระดับความปลอดภัยของบริษัทสาขาต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าสำนักงานใหญ่ ซึ่งฝั่งผู้โจมตีทราบถึงสถานการณ์ดังกล่าวนี้อยู่แล้ว จึงส่งผลให้เกิดกรณีที่มีการบุกรุกมายังระบบของบริษัทสาขาต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นขั้นบันไดสำหรับบุกรุกไปยังระบบของสำนักงานใหญ่ การโจมตีทางไซเบอร์นั้นมีวิธีการที่หลากหลายมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเป็นอย่างมากในการรับมือ และแม้ว่าจะทราบรายละเอียดของมาตรการรับมืออยู่ก่อนแล้วก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม จึงส่งผลให้การรับมือหลังเกิดเหตุโดยไม่พึ่งองค์กรหรือผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกนั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกับสำนักงานใหญ่และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากภายนอกให้ชัดเจนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในบทความนี้จะขอแนะนำให้ท่านทำการฝึกซ้อมรับมืออย่างสม่ำเสมอ โดยจัดเตรียมมาตรการรับมือที่เริ่มตั้งแต่กระบวนการ “การตรวจพบความผิดปกติ” จนถึง “การรับมือขั้นต้น” ผ่านสถานการณ์จำลองที่ชัดเจนดังตัวอย่างด้านล่าง

ตั้งแต่การตรวจพบจนถึงการรับมือขั้นต้น

การสนับสนุนด้านการฟื้นฟูระบบผ่านประกันภัยและบริการเสริม

ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการประกันความเสี่ยงภัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ในกรณีที่เกิดเหตุทางไซเบอร์ ดังที่กล่าวข้างต้น การรับมือขั้นต้นของบริษัทท่านมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการลดความเสียหาย ทว่าในการรับมือนั้นนอกจากความรวดเร็วแล้ว มาตรการการรับมือทางเทคนิคขั้นสูงเองก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน บริษัทสาขาต่างประเทศที่ทรัพยากรมีจำกัดและสามารถรับมือต่อเหตุทางไซเบอร์ได้โดยไม่พึ่งองค์กรจากภายนอกนั้นมีไม่มาก เพราะฉะนั้นการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ และเตรียมความพร้อมในการประสานงานเพื่อที่หากเกิดเหตุจะได้สามารถประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากภายนอกได้อย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในกรณีที่ใช้บริการประกันภัยอยู่แล้ว บริษัทประกันภัยจะทำการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเหตุไซเบอร์ และทำการแก้ไขปัญหาโดยเร็วเพื่อให้สามารถฟื้นฟูได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งหากมีการว่าจ้างบริษัท IT อยู่แล้วก็จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีบริษัทประกันภัยที่ให้บริการด้านการฝึกอบรม Phishing email ดังตัวอย่างด้านล่างซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือต่อเหตุทางไซเบอร์ได้อีกด้วย ความเสี่ยงทางไซเบอร์ เช่น ภาระทางการเงินมหาศาลอันเนื่องมากจากความเสียหายจากแรนซัมแวร์กำลังเพิ่มขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้นทุกปี และนอกจากความเสียหายโดยตรงแล้ว จำนวนของความเสียหายที่เป็นผลสืบเนื่องและเหตุการณ์เล็กน้อยก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเหตุดังกล่าวนั้นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อบริษัทของท่านเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบต่อคู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และในบางกรณีอาจส่งผลกระทบต่อตลาดและสังคมด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ท่านทราบว่า แม้ว่าจะเป็นสภาวะที่มีทรัพยากรจำกัดก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ด้วยความความเร่งด่วนและการรับมือทางเทคนิคขั้นสูงได้เช่นกันหากมีการใช้บริการประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ผลประโยชน์ของการใช้บริการประกันภัยมีดังนี้
  1. การสนับสนุนการฝึกอบรมรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ และการจัดหาเครื่องมือสำหรับการฝึกอบรม Phishing email สำหรับพนักงาน ฯลฯ
  2. การสนับสนุนมาตรการฉุกเฉินสำหรับกรณีเกิดเหตุทางไซเบอร์และการฟื้นฟูระบบผ่านการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญ
ชดเชยค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูหลังเกิดเหตุทางไซเบอร์และค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (คู่ค้าทางธุรกิจ ฯลฯ ) รวมถึงชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามมาตรการฉุกเฉิน ค่าชดเชยสำหรับผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล และค่าชดเชยสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจกรณีข้อมูลความลับรั่วไหล ฯลฯ
อ้างอิง รูปภาพ __________________________________________________________________________________________________________
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a MS&AD Insurance Group company specialized in risk management survey research and consulting services. For inquiry about consultation and seminar etc. for companies expanding business in Thailand, please feel free to contact the nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc.
International Section, Corporate Planning Department
TEL.03-5296-8920
http://www.irric.co.jp
__________________________________________________________________________________________________________
InterRisk Asia (Thailand) is a MS&AD Insurance Group company which was established in Thailand to provide risk management services, such as fire safety, flood risk management, electrical safety and risk consulting services, such as automotive risk assessment, occupational safety and burglary risk survey to our clients in Thailand. For inquiry, please feel free to contact us.
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd.
175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailand
TEL: +66-(0)-2679-5276
FAX: +66-(0)-2679-5278
https://www.interriskthai.co.th/
__________________________________________________________________________________________________________
The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.
Copyright 2022 MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. All Rights Reserved

No tag assigned