อาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทย

[สรุป]

  • ในปีพ.ศ. 2564 มีผู้ใช้งานภายในประเทศไทยถูกโจมตีทางไซเบอร์ 21% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 29%
  • มูลค่าความเสียหายเฉลี่ยของอาชญากรรมทางไซเบอร์ในปีพ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นถึง 144% หรือ 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 72.6 ล้านบาท
  • บริษัทสาขาย่อยถูกใช้เป็นสื่อกลางในการบุกรุกไปยังระบบของบริษัทสำนักงานใหญ่
  • การฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารที่รวดเร็วสำหรับการเตรียมพร้อมรับมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ

อาชญากรรมทางไซเบอร์เป็นอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโดยมีจุดประสงค์ที่ผิดกฎหมาย เช่น การฉ้อโกง การขโมยข้อมูลยืนยันตัวตน หรือการละเมิดความเป็นส่วนตัว ไวรัสคอมพิวเตอร์เองก็เป็นหนึ่งในอาชญากรรมทางไซเบอร์ และอาจเป็นอาชญากรรมประเภทแรกผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตรู้จัก ไวรัสนั้นแพร่ระบาดในระบบคอมพิวเตอร์ สร้างความเสียหายให้กับไฟล์ ทำให้ระบบการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ผิดปกติ และสามารถจำลองตัวเองไปยังอุปกรณ์และระบบอื่น ๆ ได้ ไวรัสจัดเป็นมัลแวร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งครอบคลุมซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายทุกประเภท รวมถึงรหัสหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์เพื่อกระจายและสร้างความเสียหาย ขโมยข้อมูล และสร้างรายได้ให้กับเจ้าของไวรัส นอกจากนี้ยังมีแรนซัมแวร์ซึ่งสามารถล็อคไฟล์ของเป้าหมายได้ จนกว่าเป้าหมายจะจ่ายค่าไถ่เพื่อแลกกับการปลดล็อคไฟล์ดังกล่าว

อาชญากรรมทางไซเบอร์เป็นปัญหาที่พบได้ในสังคมปัจจุบันเนื่องจากเทคโนโลยีมีการก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ทว่ามาตรการด้านความปลอดภัยสำหรับการปกป้องเทคโนโลยีและผู้ใช้งานไม่สามารถพัฒนาตามความก้าวหน้าดังกล่าวได้ทัน จึงส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง

หน่วยงาน Cybersecurity Ventures ที่รวบรวมนักวิจัยชั้นนำของโลกคาดการณ์ว่าอาชญากรรมทางไซเบอร์จะเพิ่มขึ้น 15% ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า และมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปีพ.ศ. 2568 เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งจัดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่มีมูลค่ามากกว่าความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติในหนึ่งปีเป็นทวีคูณ

สถานการณ์อาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทยเป็นอย่างไร ขอเชิญท่านมาหาข้อมูลที่น่าสนใจในจดหมายข่าวฉบับนี้โดยในประเทศไทย เหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ดังตารางด้านล่าง

ตารางที่ 1 ประเภทของอาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทย

ข้อมูลสถิติประวัติศาสตร์อาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 มีแนวโน้มลดลง ทว่าจำนวนกรณียังคงสูง โดยมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยของอาชญากรรมทางไซเบอร์ในปีพ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นถึง 144% หรือ 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 72.6 ล้านบาท) อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ บริการด้านกฎหมาย การก่อสร้าง การขายส่งและขายปลีก ระบบสาธารณสุข และนิคมอุตสาหกรรม นอกจากนี้ประเทศไทยยังอยู่ในอันดับที่ 6 ของประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก โดยมีประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากแรนซัมแวร์มากที่สุด

จากแบบสอบถามของบริษัทไซเบอร์ในหลายประเทศ พบว่าผู้ใช้งานในประเทศไทยถูกโจมตีโดยอาชญากรทางไซเบอร์ประมาณ 21% ในปี 2564 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 29%

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์อยู่ที่ 2,250 กรณี (ปีพ.ศ. 2561) 2,470 กรณี (ปีพ.ศ. 2562) 2,250 กรณี (ปีพ.ศ. 2563) และ 2,069 กรณี (ปีพ.ศ. 2564) ซึ่งจัดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม เหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ประเภทการบุกรุกลดลงในขณะที่การโจมตีด้วยโปรแกรมไม่พึงประสงค์และภัยคุกคามอื่น ๆ (เช่น การรวบรวมข้อมูล) เพิ่มมากขึ้นดังแผนภาพดังต่อไปนี้

แผนภาพที่ 1 จำนวนกรณีของเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทย

ตารางที่ 2 ตัวอย่างอาชญากรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ในประเทศไทย

หลักการของมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์

เนื่องจากในบริษัทสาขาต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทยนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับสำนักงานใหญ่แล้วมีทรัพยากร (บุคลากร, เวลา และงบประมาณ) ที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ระดับความปลอดภัยของบริษัทสาขาต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าสำนักงานใหญ่ ซึ่งฝั่งผู้โจมตีทราบถึงสถานการณ์ดังกล่าวนี้อยู่แล้ว จึงส่งผลให้เกิดกรณีที่มีการบุกรุกมายังระบบของบริษัทสาขาต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นขั้นบันไดสำหรับบุกรุกไปยังระบบของสำนักงานใหญ่

การโจมตีทางไซเบอร์นั้นมีวิธีการที่หลากหลายมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเป็นอย่างมากในการรับมือ และแม้ว่าจะทราบรายละเอียดของมาตรการรับมืออยู่ก่อนแล้วก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม จึงส่งผลให้การรับมือหลังเกิดเหตุโดยไม่พึ่งองค์กรหรือผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกนั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกับสำนักงานใหญ่และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากภายนอกให้ชัดเจนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในบทความนี้จะขอแนะนำให้ท่านทำการฝึกซ้อมรับมืออย่างสม่ำเสมอ โดยจัดเตรียมมาตรการรับมือที่เริ่มตั้งแต่กระบวนการ “การตรวจพบความผิดปกติ” จนถึง “การรับมือขั้นต้น” ผ่านสถานการณ์จำลองที่ชัดเจนดังตัวอย่างด้านล่าง

ตั้งแต่การตรวจพบจนถึงการรับมือขั้นต้น

การสนับสนุนด้านการฟื้นฟูระบบผ่านประกันภัยและบริการเสริม

ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการประกันความเสี่ยงภัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ในกรณีที่เกิดเหตุทางไซเบอร์ ดังที่กล่าวข้างต้น การรับมือขั้นต้นของบริษัทท่านมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการลดความเสียหาย ทว่าในการรับมือนั้นนอกจากความรวดเร็วแล้ว มาตรการการรับมือทางเทคนิคขั้นสูงเองก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน บริษัทสาขาต่างประเทศที่ทรัพยากรมีจำกัดและสามารถรับมือต่อเหตุทางไซเบอร์ได้โดยไม่พึ่งองค์กรจากภายนอกนั้นมีไม่มาก เพราะฉะนั้นการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ และเตรียมความพร้อมในการประสานงานเพื่อที่หากเกิดเหตุจะได้สามารถประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากภายนอกได้อย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ในกรณีที่ใช้บริการประกันภัยอยู่แล้ว บริษัทประกันภัยจะทำการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเหตุไซเบอร์ และทำการแก้ไขปัญหาโดยเร็วเพื่อให้สามารถฟื้นฟูได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งหากมีการว่าจ้างบริษัท IT อยู่แล้วก็จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีบริษัทประกันภัยที่ให้บริการด้านการฝึกอบรม Phishing email ดังตัวอย่างด้านล่างซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือต่อเหตุทางไซเบอร์ได้อีกด้วย

ความเสี่ยงทางไซเบอร์ เช่น ภาระทางการเงินมหาศาลอันเนื่องมากจากความเสียหายจากแรนซัมแวร์กำลังเพิ่มขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้นทุกปี และนอกจากความเสียหายโดยตรงแล้ว จำนวนของความเสียหายที่เป็นผลสืบเนื่องและเหตุการณ์เล็กน้อยก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเหตุดังกล่าวนั้นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อบริษัทของท่านเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบต่อคู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และในบางกรณีอาจส่งผลกระทบต่อตลาดและสังคมด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ท่านทราบว่า แม้ว่าจะเป็นสภาวะที่มีทรัพยากรจำกัดก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ด้วยความความเร่งด่วนและการรับมือทางเทคนิคขั้นสูงได้เช่นกันหากมีการใช้บริการประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลประโยชน์ของการใช้บริการประกันภัยมีดังนี้

  1. การสนับสนุนการฝึกอบรมรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ และการจัดหาเครื่องมือสำหรับการฝึกอบรม Phishing email สำหรับพนักงาน ฯลฯ
  2. การสนับสนุนมาตรการฉุกเฉินสำหรับกรณีเกิดเหตุทางไซเบอร์และการฟื้นฟูระบบผ่านการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญ

ชดเชยค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูหลังเกิดเหตุทางไซเบอร์และค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (คู่ค้าทางธุรกิจ ฯลฯ ) รวมถึงชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามมาตรการฉุกเฉิน ค่าชดเชยสำหรับผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล และค่าชดเชยสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจกรณีข้อมูลความลับรั่วไหล ฯลฯ

อ้างอิง

รูปภาพ



__________________________________________________________________________________________________________


MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a MS&AD Insurance Group company specialized in risk management survey research and consulting services. For inquiry about consultation and seminar etc. for companies expanding business in Thailand, please feel free to contact the nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.

MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc.

International Section, Corporate Planning Department

TEL.03-5296-8920

http://www.irric.co.jp

__________________________________________________________________________________________________________

InterRisk Asia (Thailand) is a MS&AD Insurance Group company which was established in Thailand to provide risk management services, such as fire safety, flood risk management, electrical safety and risk consulting services, such as automotive risk assessment, occupational safety and burglary risk survey to our clients in Thailand. For inquiry, please feel free to contact us.

InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd.

175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailand

TEL: +66-(0)-2679-5276

FAX: +66-(0)-2679-5278

https://www.interriskthai.co.th/

__________________________________________________________________________________________________________

The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.

Copyright 2022 MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. All Rights Reserved

Share:

Let us help you ensure business continuity

Talk to InterRisk and take the first step toward a safer, risk-free business

Search
Close this search box.