Summary
- ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้
- คาดว่าจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้
- คาดว่าปริมาณฝนในช่วงครึ่งหลังของเดือนมิถุนายนจะลดลงเนื่องจากการอ่อนกำลังลงของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
- ปริมาณการกักเก็บน้ำในเขื่อนใหญ่ทุกแห่งบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงต้นเดือนพฤษภาคมเล็กน้อยเนื่องจากการเข้าสู่ฤดูฝน และปริมาณการกักเก็บส่วนมากนั้นค่อนข้างสูงกว่าปีที่ผ่านมา
- ระดับน้ำของแม่น้ำยม (แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน) สูงกว่าช่วงต้นเดือนพฤษภาคมอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำโดยรวมของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและล่างยังคงอยู่ในระดับปกติถึงระดับต่ำ ไม่มีความน่ากังวลเรื่องเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด
ปริมาณน้ำฝน
ปริมาณน้ำฝนจนถึงช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาแล้วมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ ปริมาณน้ำฝนสะสมในประเทศโดยรวมอยู่ในช่วง 200-1,200 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นผลกระทบจากลานีญา โดยหากเทียบกับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยแล้ว ปริมาณน้ำฝนสะสมในปีนี้จัดว่าสูงขึ้นมากโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้
หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)
การพยากรณ์อากาศ
จากการพยากรณ์อากาศประจำเดือนโดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าประมาณ 40-60% ของพื้นที่จะมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน และอาจมีช่วงที่มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้นั้นอาจมีปริมาณฝนเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 60-80% ของพื้นที่ โดยมีฝนตกในหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะลดลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน ซึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนกำลังลงของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศในช่วงครึ่งแรกของเดือน นอกจากนี้อาจมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะ และร่องมรสุมพาดผ่านตามภาคใต้ของจีนในช่วงครึ่งหลังของเดือน
การคาดการณ์ปริมาณฝนในเดือนมิถุนายน ปริมาณฝนสุทธิของประเทศไทยตอนบนจะมีความใกล้เคียงกับค่าปกติ ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนสุทธิของภาคใต้จะต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 10%
ข้อควรระวังในเดือนมิถุนายน จะมีพายุโซนร้อนที่ก่อตัวในภูมิภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเคลื่อนผ่านฟิลิปปินส์และเข้าสู่ทะเลจีนใต้ ดังนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้และชายฝั่งภาคตะวันออก
หมายเหตุ : ค่าปกติ คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยภายในระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2524-2553)
ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพล) ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (39%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม<2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (45%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิติ์จนถึงวันที่ 29 พฤษภาคมเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แม้ว่าปริมาณน้ำกักเก็บในช่วงต้นปีจะอยู่ในระดับต่ำ ในส่วนของเขื่อนภูมิพลนั้นมีแนวโน้มที่ปริมาณน้ำกักเก็บจะแตกต่างจากปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ
ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อย)
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (30%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (38%) ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อยและเขื่อนป่าสักเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีนั้นต่ำกว่ามาก ทว่าปริมาณน้ำกักเก็บจะสูงกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย
กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน
ระดับน้ำของแม่น้ำยมเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะระดับน้ำของแม่น้ำในจังหวัดพิจิตร ในส่วนของแม่น้ำปิง วัง และน่านนั้นระดับน้ำไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนเจ้าพระยานั้นก็มีระดับน้ำที่ต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำเช่นกัน จึงไม่มีเรื่องน่าวิตกกังวลด้านเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
29 พฤษภาคม 2565
หมายเหตุ : – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร
กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ระดับน้ำต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีสถานการณ์น่าเป็นกังวลแต่อย่างใด
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
29 พฤษภาคม 2565
หมายเหตุ : – ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วัน
ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
References
- http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php
- https://www.tmd.go.th/monthly_forecast.php
- https://www.thaiwater.net/water/dam/large
- http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up.php?cal2=29052022
- http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low.php?cal2=29052022
__________________________________________________________________________________________________________
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a MS&AD Insurance Group company specialized in risk management survey research and consulting services. For inquiry about consultation and seminar etc. for companies expanding business in Thailand, please feel free to contact the nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.
MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc.
International Section, Corporate Planning Department
TEL.03-5296-8920
http://www.irric.co.jp
__________________________________________________________________________________________________________
InterRisk Asia (Thailand) is a MS&AD Insurance Group company which was established in Thailand to provide risk management services, such as fire safety, flood risk management, electrical safety and risk consulting services, such as automotive risk assessment, occupational safety and burglary risk survey to our clients in Thailand. For inquiry, please feel free to contact us.
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd.
175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailand
TEL: +66-(0)-2679-5276
FAX: +66-(0)-2679-5278
https://www.interriskthai.co.th/
__________________________________________________________________________________________________________
The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.
Copyright 2022 MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. All Rights Reserved