สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน

[สรุป]

  • คาดการณ์ว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม
  • นอกเหนือจากภาคใต้แล้ว ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ตั้งแต่ช่วงต้นปีในปีนี้มีความใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
  • สถานการณ์ภัยแล้งบรรเทาลงด้วยอิทธิพลของปรากฏการณ์ลานีญา อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจากปรากฏการณ์ลานีญาสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญ
  • ปริมาณการกักเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหมดบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยากำลังลดลงเนื่องจากภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการกักเก็บของเขื่อนส่วนใหญ่นั้นจัดว่าค่อนข้างสูงกว่าปีที่ผ่านมา

ไม่มีประเด็นน่าวิตกกังวลเกี่ยวกับแม่น้ำสายหลักบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เนื่องจากแม่น้ำส่วนใหญ่มีระดับน้ำที่ค่อนข้างต่ำ

ปริมาณน้ำฝน

ปริมาณน้ำฝนในช่วงตอนบนของประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีจนถึงช่วงต้นเดือนพฤษภาคมมีปริมาณลดลงเล็กน้อย และเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในพื้นที่ภาคใต้เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ปริมาณน้ำฝนสะสมของพื้นที่ภาคใต้อยู่ในระดับ 200-1,200 มิลลิเมตร เนื่องจากผลกระทบของปรากฏการณ์ลานีญา โดยหากเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนแล้ว พบว่าปริมาณน้ำฝนสะสมในปีนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้

การพยากรณ์อากาศ


จากการพยากรณ์อากาศประจำเดือนโดยกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่ทางตอนบนของประเทศจะมีสภาวะอากาศแปรปรวนในช่วงครึ่งแรกของเดือน โดยจะมีอากาศอบอ้าวและฝนตกชุกในบางพื้นที่ หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะเพิ่มขึ้นเป็น 40-60% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออก ในส่วนของภาคใต้นั้น ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้น มีคลื่นสูง 1-3 เมตรทางด้านตะวันตก และคลื่นสูง 1 เมตรทางด้านอ่าวไทย โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนผ่านจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศมาเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่จะพัดปกคลุมภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีร่องมรสุมที่จะพาดผ่านภาคเหนือเป็นระยะ ๆ โดยคาดว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งรัฐบาลได้เปิดเผยมาตรการป้องกันสำหรับฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง ดังนี้

  1. สังเกตุการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่ปริมาณน้ำฝนต่ำเพื่อกำหนดมาตรการรับมือ
  2. จัดการพื้นที่ลุ่มเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์น้ำท่วมและการสำรองน้ำ
  3. ปรับปรุงแผนการจัดการเขื่อนขนาดใหญ่กลาง
  4. ซ่อมแซม ฟื้นฟูระบบระบายน้ำ และสถานีโทรมาตร
  5. จัดการสิ่งกีดขวางเส้นทางการระบายน้ำ
  6. ขุดคลองและกำจัดวัชพืช
  7. จัดเตรียมเครื่องจักร อุปกรณ์ กำลังคน และแผนป้องกัน
  8. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับงบน้ำ
  9. ตรวจสอบความพร้อมของกำแพง/คันกั้นน้ำ
  10. ระบุพื้นที่อพยพและดำเนินการฝึกซ้อมแผนรับมือ (ภายในเดือนพฤษภาคม)
  11. จัดตั้งที่ว่าการอำเภอก่อนเกิดเหตุน้ำท่วม
  12. ดำเนินการสื่อสารกับประชาชน (ก่อนและระหว่างฤดูฝน)
  13. ติดตาม ประเมิน และจัดการมาตรการให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์

ในส่วนของปริมาณน้ำฝนในปีนี้ ตามการคาดการณ์ของผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.)  สภาพอากาศจะมีความผันผวนเนื่องจากช่วงครึ่งปีแรกจะได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ลานีนาซึ่งได้รับผลกระทบตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่ผ่านมา และจะผันไปสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงครึ่งปีหลัง (สิงหาคมธันวาคม) ซึ่งหมายความว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้จะมีความไม่สม่ำเสมอในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนเนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน และปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จากนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงช่วงที่เหลือของปี

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพล)

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิติ์จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม มีความใกล้เคียงกับปริมาณน้ำกักเก็บในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาแม้ว่าปริมาณน้ำกักเก็บในช่วงต้นปีจะต่ำกว่าก็ตาม โดยในส่วนของเขื่อนภูมิพลนั้นพบว่ามีปริมาณน้ำกักเก็บที่ค่อนข้างสูงกว่า 2 ปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด

ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อย)

ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อยเพิ่มสูงขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แม้ว่างบน้ำจะสูงขึ้นอย่างมาก

กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน

แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่านมีระดับน้ำที่ค่อนข้างต่ำ เห็นได้จากระดับน้ำในแม่น้ำต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ถึง 9 เมตร โดยในส่วนของระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนเจ้าพระยานั้นก็มีระดับน้ำที่ต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำเช่นกัน จึงไม่มีเรื่องน่าวิตกกังวลด้านเหตุน้ำท่วมแต่อย่างใด

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
8 พฤษภาคม 2565

หมายเหตุ : – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที⠀⠀⠀⠀

ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร

ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร

กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

สถานการณ์ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีความใกล้เคียงกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ระดับน้ำต่ำกว่าฝั่งแม่น้ำอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีเรื่องน่าวิตกกังวลแต่อย่างใด

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
8 พฤษภาคม 2565

หมายเหตุ : – ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที

ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วัน

ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php
  • https://www.thaipost.net/general-news/132557/
  • https://www.tmd.go.th/monthly_forecast.php
  • https://www.tnnthailand.com/news/earth/112726/
  • https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news
  • https://www.thaiwater.net/water/dam/large
  • http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up.php?cal2=08052022
  • http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low.php?cal2=08052022
  • https://www.pexels.com/photo/body-of-water-under-blue-and-white-skies-1533720
  • https://www.pexels.com/video/sea-sunset-water-blue-7385122/
  • https://www.pexels.com/photo/close-up-photo-of-body-of-water-3560168/


__________________________________________________________________________________________________________


MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. is a MS&AD Insurance Group company specialized in risk management survey research and consulting services. For inquiry about consultation and seminar etc. for companies expanding business in Thailand, please feel free to contact the nearest Mitsui Sumitomo Insurance or Aioi Nissay Dowa Insurance sales representatives.

MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc.

International Section, Corporate Planning Department

TEL.03-5296-8920

http://www.irric.co.jp

__________________________________________________________________________________________________________

InterRisk Asia (Thailand) is a MS&AD Insurance Group company which was established in Thailand to provide risk management services, such as fire safety, flood risk management, electrical safety and risk consulting services, such as automotive risk assessment, occupational safety and burglary risk survey to our clients in Thailand. For inquiry, please feel free to contact us.

InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd.

175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailand

TEL: +66-(0)-2679-5276

FAX: +66-(0)-2679-5278

https://www.interriskthai.co.th/

__________________________________________________________________________________________________________

The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.

Copyright 2022 MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. All Rights Reserved

Share:

Let us help you ensure business continuity

Talk to InterRisk and take the first step toward a safer, risk-free business

Search
Close this search box.