สรุป
- คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติประกาศเตือนภัยน้ำท่วมกรุงเทพฯ นนทบุรี และปทุมธานี ระหว่างวันที่ 7-10 ตุลาคม
- พายุโซนร้อน “LIONROCK” จะมีกำลังแรงขึ้นและเข้าฝั่งเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 10-11 ตุลาคม โดยพายุดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยหลังวันที่ 11 ตุลาคม
- ระดับน้ำของเขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพลอยู่ที่ประมาณ 50% แสดงให้เห็นว่าเขื่อนทั้งสองยังคงสามารถกักเก็บน้ำและควบคุมการไหลของแม่น้ำได้อยู่
- ระดับน้ำของเขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อยใกล้ถึงระดับควบคุมสูงสุดแล้ว ปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนจึงเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นได้
- ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างถึงระดับ “วิกฤต” ในจุดวัดระดับน้ำส่วนมาก
- ควรติดตามอิทธิพลของพายุโซนร้อน “LIONROCK” และระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิดจนถึงช่วงกลางเดือนตุลาคม
ประกาศเตือนภัยจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ประกาศเตือนภัยน้ำท่วม กรุงเทพฯ นนทบุรี และปทุมธานี เนื่องจากจะมีน้ำไหลผ่าน อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอัตราสูงสุด 3,050-3,150 ลบ.ม./วินาทีในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยน้ำจะไหลลงอ่าวไทยในช่วงวันที่ 7-10 ตุลาคม นอกจากนี้ในช่วงดังกล่าว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นและทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 30-50 ซม. ซึ่งพื้นที่แจ้งเตือนนั้นได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานอกเขื่อนกั้นน้ำในจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี และพื้นที่ที่ไม่มีเขื่อนกั้นน้ำบริเวณทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ
พยากรณ์อากาศ
กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่าพายุโซนร้อน “LIONROCK” ในบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางที่มีความเร็ว 55 กม./ชม. อาจมีกำลังแรงขึ้นและขึ้นฝั่งที่เวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 10-11 ตุลาคม โดยพายุดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในช่วงหลัง 11 ตุลาคม
ปริมาณน้ำฝน
- ตัวเลขด้านล่างแสดง : (ซ้าย) ความแตกต่างของปริมาณน้ำฝนสะสมจากระดับปกติ (ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา) ของวันที่ 1 มกราคม ถึง 1 กันยายน 2564 (กลาง) ความแตกต่างของปริมาณน้ำฝนสะสมจากระดับปกติของวันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 7 ตุลาคม 2564 และ (ขวา) ปริมาณน้ำฝนสะสมของวันที่ 1 มกราคม ถึง 7 ตุลาคม 2564
- เมื่อเปรียบเทียบรูปด้านซ้ายกับรูปตรงกลางแล้ว จะสังเกตได้ว่าทางตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ชัยภูมิ, นครราชสีมา) ทางใต้ของภาคเหนือ (นครสวรรค์, อุทัยธานี) และทางเหนือของภาคกลาง (ลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท ฯลฯ) นั้นมีฝนตกหนักตั้งแต่เดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม และปริมาณน้ำฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมนั้นสูงกว่าปกติมาก (พื้นที่วงกลมสีแดงดังรูปด้านล่าง)
- จังหวัดระยองและจันทบุรี ภาคตะวันออกของประเทศไทย มีปริมาณน้ำฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม สูงกว่าปกติประมาณ 500 มม.
ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพล)
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (45%) : ณ วันที่ 7 ตุลาคม *43% ณ วันที่ 26 กันยายน
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (51%) : ณ วันที่ 7 ตุลาคม *45% ณ วันที่ 26 กันยายน
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพลเพิ่มขึ้น 2% และ 6% ตามลำดับตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2554 ซึ่งในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2554 ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนทั้งสองใกล้จะถึงระดับควบคุมสูงสุดแล้ว จากผลการเปรียบเทียบปริมาณการกักเก็บ ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 และ 2564 ปริมาณการกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์คือ 9,409 ลบ.ม.ในปี 2554 และ 4,268 ลบ.ม.(45%) ในปี 2564 ส่วนปริมาณการกักเก็บของเขื่อนภูมิพลคือ 13,307 ลบ.ม.ในปี 2554 และ 6,929 ลบ.ม.(52%) ในปี 2564 โดยเขื่อนทั้งสองแห่งยังคงมีพื้นที่ในการกักเก็บน้ำและสามารถควบคุมการไหลของแม่น้ำได้แม้ทางตอนเหนือของประเทศไทยจะมีฝนตกหนัก
ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อย)
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (95%) : ณ วันที่ 7 ตุลาคม *73% ณ วันที่ 26 กันยายน
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (95%) : ณ วันที่ 7 ตุลาคม *83% ณ วันที่ 26 กันยายน
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อยใกล้ถึงระดับควบคุมสูงสุดแล้ว ซึ่งปริมาณน้ำของเขื่อนดังกล่าวเคยถึงระดับนี้แล้วในช่วงกลางเดือนกันยายน 2554 โดยจะมีการเพิ่มปริมาณน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนเพื่อลดปริมาณน้ำกักเก็บ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้น
กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน
ระดับน้ำของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน โดยระดับน้ำในแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และจุดบรรจบของแม่น้ำทั้งสี่ยังคงอยู่ในระดับ “วิกฤต”
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
7 ตุลาคม 2564
หมายเหตุ : – ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
– ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
– ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร
กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ระดับน้ำของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน โดยน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำ
ป่าสักได้ไหลเข้าท่วมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสระบุรีตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าระดับน้ำที่จุดวัดระดับน้ำส่วนมากอยู่ในระดับ “วิกฤต”
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
7 ตุลาคม 2564
หมายเหตุ : – ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
– ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วัน
– ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
อ้างอิง
- https://www.prachachat.net/economy/news-775218
- https://www.tmd.go.th/list_warning.php
- http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php
- http://www.thaiwater.net/water/dam/large
- http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up.php?cal2=01092021
- http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low.php?cal2=01092021