สรุป
- เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย
- จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (DDPM) พบว่าในช่วงกลางเดือนกันยายนมีผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมที่เกิดจากฝนตกหนักและพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ถึง 58,977 ครัวเรือนใน 27 จังหวัด
- จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (DDPM) ระบุว่าจังหวัดสุโขทัย (ภาคเหนือ) และจังหวัดลพบุรี (ภาคกลาง) ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
- ระดับน้ำของเขื่อนใหญ่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาถึงระดับ “วิกฤต” ในจุดวัดระดับน้ำหลาย ๆ จุด ซึ่งในอนาคตหากน้ำที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนมีปริมาณมากขึ้น ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาอาจเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ฝนตกจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่”
* พายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” กลายสภาพเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 25 กันยายน เพราะฉะนั้นภาวะฝนตกที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่แค่ผลกระทบจากพายุโซนร้อนเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามในข่าวฉบับนี้จะขอกล่าวว่าเป็นผลกระทบจาก “เตี้ยนหมู่”
ด้วยอิทธิพลจากพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 23 – 26 กันยายน จากแผนภาพปริมาณน้ำฝนรายวันของวันที่ 24 ถึงวันที่ 26 ด้านล่างแสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทยช่วงวันที่ 24 และ 25 กันยายนนั้นมีปริมาณน้ำฝนรายวันอยู่ที่ 100-200 มม.
ความเสียหายจากเหตุน้ำท่วม
จากข้อมูลของกรมป้อมกันและบรรเทาสาธารณภัยพบว่า จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยมีผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมรุนแรงถึง 7,392 ครัวเรือน ในขณะที่จังหวัดลพบุรีและจังหวัดชัยภูมิตั้งอยู่ในภาคกลางมีผู้ได้รับผลกระทบ 37,451 และ 453 ครัวเรือนตามลำดับ
ภาพด้านล่างแสดงแผนที่พื้นที่น้ำท่วมในช่วง 7 วันที่ผ่านมา (21 – 27 กันยายน) เผยแพร่โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ตามแผนที่แล้วนอกเหนือจาก 3 จังหวัดข้างต้นแล้วยังพบว่าได้เกิดเหตุน้ำท่วมขึ้นที่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี และอยุธยาด้วยเช่นกัน โดยที่จังหวัดนครราขสีมานั้นทางจังหวัดได้ออกประกาศเตือนแล้วเนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าขีดจำกัด
พยากรณ์อากาศ
กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่า :
“ในช่วงวันที่ 28 – 30 กันยายน 2564 ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้ในประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคใต้ และภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 1 – 3 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมกำลังอ่อนจะเคลื่อนตัวขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น รวมถึงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกและภาคใต้”
ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนภูมิพล)
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์ (43%) : ณ วันที่ 26 กันยายน
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล (45%) : ณ วันที่ 26 กันยายน 2021
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนสิริกิต์และเขื่อนภูมิพลเพิ่มขึ้น 5% และ 11% ตามลำดับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน เนื่องจากปริมาณน้ำฝนในช่วงต้นถึงกลางเดือนกันยายนและพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” และมีความเป็นไปได้ที่ระดับน้ำของทั้งสองเขื่อนจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันน้ำในเขื่อนยังคงมีปริมาณน้อยว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณน้ำในปี 2554 ซึ่งเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
ปริมาณน้ำกักเก็บ (เขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อย)
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสัก (73%) ณ วันที่ 1 กันยายน
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแควน้อย (83%) ณ วันที่ 1 กันยายน 2021
ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนป่าสักและเขื่อนแควน้อยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 67% และ 55% ตามลำดับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน เนื่องจากปริมาณน้ำฝนในช่วงต้นถึงกลางเดือนกันยายนและพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ระดับน้ำในเขื่อนป่าสักมักจะเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน และในปีนี้เนื่องจากผลกระทบของพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจนเกือบจะถึงระดับควบคุมสูงสุด สำหรับเขื่อนแควน้อยนั้นระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นจนเกือบจะถึงระดับควบคุมสูงสุดเช่นเดียวกัน โดยมีระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 85% ของระดับน้ำในปี 2554
กระแสน้ำเจ้าพระยาตอนบน
ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน โดยพบว่าเกิดเหตุน้ำท่วมในพื้นที่ระหว่างจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิจิตร ในขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำวัง แม่น้ำน่าน และจุดบรรจบของแม่น้ำสำคัญทั้ง 4 สายเพิ่มสูงขึ้นจนเข้าสู่ระดับ “วิกฤต”
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
27 กันยายน 2021
อ้างอิง :
– ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
– ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
– ระดับน้ำ U/S และ D/S มีหน่วยเป็นเมตร
กระแสน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ระดับน้ำของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยพบว่าเกิดเหตุน้ำท่วมในจังหวัดอุทัยธานี และระดับน้ำของจุดวัดระดับน้ำหลายจุดอยู่ในระดับ “วิกฤต” อย่างไรก็ตาม การไหลของน้ำยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมในพื้นที่ส่วนใหญ่
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
27 กันยายน 2021
หมายเหตุ :
– ตัวเลขสีดำแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วินาที
– ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงอัตราการไหลของน้ำในหน่วย ลูกบาศก์เมตร/วัน
– ตัวเลขที่ขีดเส้นใต้แสดงถึงระดับน้ำที่สูงกว่า (+) หรือต่ำกว่า (-) เทียบกับฝั่งแม่น้ำ โดยมีหน่วยเป็นเมตร
แหล่งอ้างอิง
- https://mgronline.com/local/detail/964000009550
- http://flood.gistda.or.th/
- https://www.tmd.go.th/en/7-day_forecast.php
- http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/DailyRain.php
- http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/yearRain.php
- http://www.thaiwater.net/water/dam/large
- http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_up.php?cal2=27092021
- http://water.rid.go.th/flood/plan_new/chaophaya/Chao_low.php?cal2=27092021
InterRisk Asia (Thailand) is a MS&AD Insurance Group company which was established in Thailand to provide risk management services, such as fire safety, flood risk management, electrical safety and risk consulting services, such as automotive risk assessment, occupational safety and burglary risk survey to our clients in Thailand. For inquiry, please feel free to contact us.
InterRisk Asia (Thailand) Co., Ltd.
175 Sathorn City Tower, South Sathorn Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok, 10120, Thailand
TEL: +66-(0)-2679-5276
FAX: +66-(0)-2679-5278
The purpose of this report is to provide our customers with the useful information for the occupational safety and health management. There is no intention to criticize any individuals and parties etc.
Copyright 2021 MS&AD InterRisk Research & Consulting, Inc. All Rights Reserved