BCMS คืออะไร? สร้างเกราะป้องกันธุรกิจให้รอดทุกเหตุไม่คาดคิด

BCMS คืออะไร

BCMS คืออะไร? ทำไมจึงสำคัญ? ป้องกันธุรกิจให้รอดจากทุกเหตุการณ์

ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากเริ่มให้ความสำคัญกับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity) เนื่องจากโลกธุรกิจเผชิญกับความไม่แน่นอนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ภัยธรรมชาติ สงคราม หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินมากมายที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน BCMS (Business Continuity Management System) คือ ระบบที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเตรียมความพร้อม รับมือ และฟื้นตัวจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดโดยอ้างอิงตามแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานสากล  เพื่อให้องค์กรมีความยืดหยุ่น (Resilience) และสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

BCMS คืออะไร

Business Continuity Management System หรือ BCMS คือ ระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ที่องค์กรใช้ในการเตรียมความพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ ระบบล่ม หรือการโจมตีทางไซเบอร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสถานการณ์วิกฤติ ดังนั้น BCMS จึงเป็นเหมือน “แผนสำรองชีวิตองค์กร” ที่ช่วยให้ธุรกิจไม่หยุดชะงัก และสามารถกลับมาทำงานได้เร็วที่สุดหลังเกิดเหตุการณ์

หากเปรียบเทียบ BCMS กับระบบบริหารความเสี่ยงทั่วไปแล้ว BCMS คือระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่เน้นความสามารถในการ “ดำเนินงานต่อ” เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง โดยมี Business Continuity Plan หรือแผน BCP คือส่วนหนึ่งของ BCMS ที่ระบุขั้นตอนการตอบสนอง การสื่อสารภายในองค์กร การจัดการทรัพยากรที่สำคัญที่ครอบคลุมทั้งก่อน ระหว่างและหลังเกิดเหตุเพื่อให้องค์กรดำเนินงานต่อได้เร็วที่สุด

แนวทางปฏิบัติและมาตรฐานสากล สำหรับระบบ BCMS มีอะไรบ้าง?

ISO 22301:2019 Security and Resilience – Business Continuity Management System

  1. เป็นมาตรฐานสากลที่กำหนดกรอบการดำเนินงานของ Business Continuity Management
  2. เป็นมาตรฐานหลักของระบบ BCMS ที่ช่วยให้องค์กรลดเวลาหยุดชะงัก เพิ่มความสามารถในการฟื้นตัว และสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ

Business Continuity Institute (BCI) – Good Practice Guidelines (GPG)

  1. เป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสำหรับการดำเนินระบบ BCMS อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติและอ้างอิงจากมาตรฐาน ISO22301

NFPA 16000:2024 – Standard for Emergency, Continuity, and Crisis Management

เป็นข้อกำหนดและแนวทางเกี่ยวกับการจัดการในสภาวะวิกฤติและบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ISO 31000:2018 Risk Management

  1. แนวทางการบริหารความเสี่ยงโดยการระบุหาความเสี่ยงที่เป็นภัยคุกคามและบรรเทาภัยที่อาจเกิดขึ้น
  2. แม้จะไม่ใช่มาตรฐานเฉพาะ แต่เป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถระบุและจัดการความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ขั้นตอนหลักในระบบ BCMS คืออะไรบ้าง?

การทำ BCMS

ขั้นตอนหลักในระบบ BCMS (หรือที่บางองค์กรอาจเรียกแตกต่างกันไป เช่น ระบบ BCM BCMS ระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ฯลฯ ) ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่

การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis หรือ BIA)

BIA คือ ขั้นตอนในการวิเคราะห์และระบุกระบวนการที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงผลกระทบหากกระบวนการเหล่านั้นหยุดชะงัก มีการกำหนดค่าที่สำคัญ เช่น RTO (Recovery Time Objective) และ RPO (Recovery Point Objective)

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment หรือ RA)

ขั้นตอนนี้ช่วยให้องค์กรเข้าใจว่าอะไรคือความเสี่ยงหรือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น และมีโอกาสมากน้อยเพียงใด

การจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจและการซ้อมแผน

เมื่อเข้าใจผลกระทบและความเสี่ยงแล้ว องค์กรควรจัดทำ Business Continuity Plan หรือแผน BCP ที่ระบุขั้นตอนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินขององค์กร รวมไปถึงฝึกซ้อมแผนเพื่อให้พนักงานเข้าใจบทบาทของตน

การอบรมและทบทวนความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อให้พนักงานเข้าใจว่า BCMS คืออะไรและเสริมสร้างความเข้าใจในกระบวนการ Business Continuity Management 

วิธีจัดการระบบ BCMS ให้มีประสิทธิภาพ ในองค์กร

การจัดการระบบ BCMS อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายฝ่าย

BCMS ที่ดีควรมีอะไรบ้าง? เจาะลึกระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ตามที่ระบุในมาตรฐาน ISO22301 ระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจะพิจารณา 7 หัวข้อหลัก ดังนี้

1. บริบทขององค์กร

องค์กรต้องเข้าใจบริบทของตนเอง เช่น ความต้องการ ความเสี่ยง รวมถึงข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางของ Business Continuity Management ได้อย่างเหมาะสม

2. ความมุ่งมั่นจากผู้บริหารระดับสูง

ผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันระบบ BCMS โดยการกำหนดนโยบาย จัดสรรทรัพยากร และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนความต่อเนื่องทางธุรกิจ

3. การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ

มีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรสามารถจัดการกับความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงแนวทางบรรลุเป้าหมายด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจได้อย่างชัดเจน

4. การสนับสนุน

ครอบคลุมทั้งด้านทรัพยากร การเงิน บุคลากร การสื่อสาร และการจัดการข้อมูลเอกสาร เช่น แผน BCP (Business Continuity Plan)

5. การดำเนินงาน

เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจไปปฏิบัติจริง โดยครอบคลุมการวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ และการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ

6. การประเมินผลการดำเนินงาน

ผ่านการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) และการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร เพื่อให้แน่ใจว่าระบบยังคงมีประสิทธิภาพ

7. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เน้นการแก้ไขข้อบกพร่อง รวมถึงการวิเคราะห์สาเหตุ การดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ และการติดตามผลการแก้ไข

ประโยชน์ ของการปรับปรุงแนวทางการจัดการในระบบ BCMS

ลดระยะเวลาหยุดชะงักของธุรกิจ
ช่วยให้องค์กรสามารถกลับมาดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วหลังเกิดเหตุการณ์
เสริมสร้างความยืดหยุ่นขององค์กร
เพิ่มความสามารถในการรับมือและฟื้นตัวจากวิกฤต
สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
องค์กรที่มีแผน BCP ที่พร้อมใช้งานจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ในขณะที่คู่แข่งอาจหยุดชะงัก
เพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มั่นใจในความสามารถขององค์กรในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
การมีแผนรองรับ จะช่วยลดต้นทุนในการฟื้นฟูเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง
การปรับปรุงระบบ BCMS
ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในองค์กร
ยกระดับความต่อเนื่องทางธุรกิจด้วยระบบ BCMS กับ InterRisk Asia

โดยสรุปแล้ว Business Continuity Management System หรือ BCMS คือ แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือระบบที่ช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด ด้วยการวิเคราะห์ จัดการความเสี่ยง และวางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ องค์กรที่มี BCMS จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

InterRisk Asia (Thailand) เราเป็นบริษัทให้บริการด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis), การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment), การจัดทำแผน Business Continuity Plan ไปจนถึงการฝึกอบรม ฝึกซ้อมและให้คำปรึกษาตามมาตรฐาน ISO 22301 เพื่อให้องค์กรพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

บริการของเรา
Business Continuity Consulting
การให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบ BCM ผ่านรูปแบบการดำเนินงานแบบครบวงจร พร้อมต่อยอดสู่มาตรฐาน ISO 22301
Business Continuity Training
การฝึกอบรมแบบปรับแต่งเฉพาะสำหรับผู้บริหารและพนักงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาทักษะด้าน BCMS
Business Impact Analysis
การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบจากการหยุดชะงัก เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับการจัดทำแผน BCP
Business Continuity Plan Exercise
การซ้อมแผน BCP เพื่อทดสอบและพัฒนาความพร้อมและการตอบสนองขององค์กร
Business Continuity Assessment
การประเมินประสิทธิภาพของ BCM ด้วยการวิเคราะห์อย่างละเอียด พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
เหตุผลที่เลือกเรา

ทีมที่ปรึกษามีประสบการณ์ด้าน BCMS โดยตรง

การออกแบบแผนที่ปรับตามบริบทของแต่ละธุรกิจ

โซลูชันที่ใช้ได้จริง ครบวงจร และพร้อมดำเนินการ

ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการความมั่นใจ หรือธุรกิจ SMEs ที่ต้องการวางรากฐาน InterRisk พร้อมช่วยคุณสร้างแผน BCP ที่ครบวงจร เพื่อ Turning Risks To Resilience ไปด้วยกัน

แชร์

Let us help you ensure business continuity

Talk to InterRisk and take the first step toward a safer, risk-free business