ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุหยุดชะงัก และวิกฤตต่าง ๆ ที่อาจคาดไม่ถึงจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถวางแผน ตอบสนอง และดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การประเมินความเสี่ยง
(Risk Assessment) ซึ่งบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักหลักการ ขั้นตอน และความสำคัญของการประเมินความเสี่ยง
ในบริบทของความต่อเนื่องทางธุรกิจ
การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment คืออะไร?
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า RA คือ กระบวนการโดยรวมที่ประกอบด้วยการ
ระบุความเสี่ยง (Risk Identification) การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) และการประเมินผลของความเสี่ยง
(Risk Evaluation) ตามนิยามของ ISO 31000:2018 ที่ว่าด้วยการจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
การประเมินความเสี่ยงถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของระบบบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCMS)
ที่มักทำร่วมกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ หรือ BIA โดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุและลดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเหตุหยุดชะงักกับกิจกรรมสำคัญขององค์กร
เพื่อทำความเข้าใจการบริหารจัดการความเสี่ยงให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น และเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน,
คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ BIA คืออะไร แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ BCP คืออะไร และระบบบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ BCMS คืออะไร
ประเมินความเสี่ยง 3 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง?
การประเมินความเสี่ยงควรทำอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และเน้นการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึก และมุมมองที่หลากหลายในการวิเคราะห์ รวมถึงการตัดสินใจเลือกลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงได้ ISO 31000 มีการระบุขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
1. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)
มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหา ชี้ให้เห็นชัด และทำความเข้าใจความเสี่ยงที่มีผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรทั้งใน
ทางบวกและลบ ขั้นตอนนี้จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลที่มีความเหมาะสมและมีการอัพเดทเป็นปัจจุบันในการระบุความเสี่ยง
2. การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)
การวิเคราะห์ความเสี่ยง หรือ Risk Analysis คือ ขั้นตอนในการทำความเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของความเสี่ยง รวมถึงระดับความเสี่ยง โดยอาศัยการพิจารณารายละเอียด เช่น โอกาสในการเกิด ความรุนแรง ความซับซ้อนของความเสี่ยง และมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้เราสามารถประเมินระดับของความเสี่ยงและผลกระทบที่ตามมาได้ รวมถึงได้ความเข้าใจเชิงลึกก่อนทำการประเมินผลของความเสี่ยงในขั้นตอนต่อไป
3. การประเมินผลของความเสี่ยง (Risk Evaluation)
เป็นกระบวนการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ โดยเทียบผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงกับเกณฑ์ความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ เพื่อพิจารณาแนวทางในการจัดการความเสี่ยงนั้นๆ ตามระดับของความเสี่ยงต่อไป
มี เทคนิคอะไรบ้าง ในการระบุความเสี่ยง?
เทคนิคที่ใช้ในการระบุความเสี่ยงนั้นมีอยู่มากมาย ซึ่งการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจ ธรรมชาติของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องรวมถึงหัวข้อที่องค์กรให้ความสนใจจึงสำคัญ หัวข้อนี้จึงพามาสำรวจตัวอย่างเทคนิคการระบุความเสี่ยงตามประเภทของธุรกิจดังนี้
เทคนิคที่ใช้ในการ วิเคราะห์ความเสี่ยง
วิธีการประเมินความเสี่ยง Risk Assessment จะมีหลัก ๆ 2 วิธีคือ การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยแต่ละแบบมีจุดเด่นและเหมาะกับบริบทที่แตกต่างกัน ดังนี้
- การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงลึก ที่ต้องอาศัยตัวเลขและสถิติในการวิเคราะห์ ซึ่งผลมักออกมาเป็นผลกระทบที่เป็นตัวเลข เช่น มูลค่าความเสียหาย
- การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ จะเหมาะกับการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นที่ไม่มีความซับซ้อนมากหรือมีข้อมูลไม่เพียงพอ ส่วนผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพมักใช้ตารางความเสี่ยง (Risk Matrix) เพื่อประเมินความเสี่ยงผ่าน โอกาสเกิด (Likelihood) x ความรุนแรง (Severity) เพื่อนำมาคิดคะแนน ดังรูปตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยง
ตัวอย่างการประเมินความเสี่ยงโรงงานอุตสาหกรรมในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยใช้ตารางความเสี่ยง (Risk Matrix) มาช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงเพลิงไหม้ในอาคารที่อยู่อาศัย
โดยมีการระบุนิยามสำหรับ โอกาสเกิดและผลกระทบ เช่น
- เป็นอันตรายต่ำ – ไม่มีการบาดเจ็บรุนแรง หรือ ถึงแก่ชีวิตกับผู้อาศัยเลย
- เป็นอันตรายปานกลาง – อาจมีการบาดเจ็บรุนแรงบางคน และมีผู้เสียชีวิตน้อยกว่า 2 คน
- เป็นอันตรายสูง – มีการบาดเจ็บรุนแรงและถึงแก่ชีวิตกับผู้อาศัยมากกว่า 2 คนขึ้นไป
- โอกาสเกิดต่ำ – พื้นที่มีความเสี่ยงเพลิงไหม้ต่ำและการจัดการความเสี่ยงที่ดี
- โอกาสเกิดปานกลาง – พื้นที่มีความเสี่ยงปานกลางสูงแต่มีการจัดการความเสี่ยงที่ดี
- โอกาสเกิดสูง – พื้นที่มีความเสี่ยงเพลิงไหม้สูงแต่มีการจัดการความเสี่ยงไม่เพียงพอ
หากสนใจการประเมินความเสี่ยงแบบละเอียด ๆ สามารถอ่าน ได้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงแผ่นดินไหว ที่อธิบายความเสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทยรวมถึงแนวทางการตอบสนองเพื่อลดความเสี่ยงธุรกิจหยุดชะงัก
ดาวน์โหลดฟรี! แบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยงจากอินเตอร์ริสค์
เพื่อช่วยให้องค์กรของคุณบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามีแบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยง
(Risk Assessment Template) ที่ออกแบบโดยทีมงานมืออาชีพของเราให้ดาวน์โหลดฟรี!
- ใช้งานง่าย
- ครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญ
- พร้อมนำไปปรับใช้ทันที
รับการประเมินความเสี่ยงครบวงจรกับ InterRisk Asia
ในวันที่ธุรกิจอาจหยุดชะงักได้จากภัยคุกคามที่คาดไม่คิดและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทวีความซับซ้อนขึ้นทุกวัน เราพร้อมช่วยคุณวิเคราะห์ ป้องกัน และวางแผนรับมือกับความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ติดต่อทีมที่ปรึกษาของ InterRisk วันนี้เพื่อลดความเสี่ยง
InterRisk เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจชั้นนำในประเทศไทย ภายใต้เครือ MS&AD จากประเทศญี่ปุ่น
ทีมที่ปรึกษามีประสบการณ์ด้าน BCMS โดยตรง
การออกแบบแผนที่ปรับตามบริบทของแต่ละธุรกิจ
โซลูชันที่ใช้ได้จริง ครบวงจร และพร้อมดำเนินการ