การกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan – BCP) เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญในการสร้างแผนที่ครอบคลุม ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถฟื้นตัวจากการหยุดชะงักได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นใจถึงความยืดหยุ่นและความต่อเนื่องทางธุรกิจ องค์กรจำเป็นต้องมีระบบการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management System – BCMS) ที่มีโครงสร้างชัดเจน
องค์ประกอบสำคัญของระบบการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCMS) ที่มีประสิทธิภาพ คือ การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสำหรับแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ซึ่งจะช่วยกำหนดทิศทาง จัดลำดับความสำคัญ และทำให้แน่ใจว่าแผนดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงโดยรวมขององค์กร
ความสำคัญของการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนก่อนเริ่มวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ จะช่วยกำหนดทิศทางและจุดโฟกัสในการบรรลุเป้าหมายของแผน และเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อให้สามารถลดระยะเวลาหยุดชะงักได้เมื่อเหตุการณ์หยุดชะงักเกิดขึ้น
การจัดลำดับความสำคัญและการจัดสรรทรัพยากร
เป้าหมายช่วยระบุสิ่งที่สำคัญในธุรกิจนั้นๆ และทรัพยากรที่จำเป็นต้องได้รับการตอบสนองทันที
ปกป้องธุรกิจ
การเตรียมความพร้อม ช่วยลดความสูญเสียทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการหยุดชะงักของธุรกิจได้
ความหยืดหยุ่นทางธุรกิจ หรือ การกลับคืนสู่สภาวะปกติ
การกำหนดแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ที่ชัดเจน ช่วยให้องค์กรของคุณสามารถดำเนินงานต่อไปได้ทั้งในระหว่างและหลังเกิดวิกฤต
วิธีการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การตั้งวัตถุประสงค์ควรอยู่ภายใต้กรอบแนวทางดังต่อไปนี้:
การใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, and Time-bound) ช่วยกำหนดเป้าหมายสำหรับแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
- Specific เจาะจง – กำหนดวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าต้องการบรรลุเป้าหมายอะไร
- Measurable วัดผลได้ – กำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้ติดตามความก้าวหน้า
- Achievable ทำได้จริง– กำหนดเป้าหมายที่สามารถทำได้และเป็นไปได้จริง
- Relevant สอดคล้องกัน – สอดคล้องกับเป้าหมายความต่อเนื่องทางธุรกิจขององค์กร
- Time-bound กรอบระยะเวลา – กำหนดกรอบเวลาสำหรับการดำเนินการและรีวิวแผน
การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (BIA) ช่วยระบุผลกระทบจากการหยุดชะงักของธุรกิจและระบุกระบวนการที่สำคัญที่ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน กระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (BIA) ประกอบด้วย:
- การประเมินผลกระทบทางการเงิน การดำเนินงาน และชื่อเสียงจากการหยุดชะงักในรูปแบบต่างๆ
- การระบุระยะเวลาสูงสุดที่ยอมรับได้ให้ระบบหยุดทำงาน เพื่อที่จะกอบกู้ระบบขึ้นมา (Recovery Time Objectives; RTO) และระยะเวลาสูงสุดที่ยอมให้ข้อมูลเสียหายได้ (Recovery Point Objectives; RPO) เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ
- การจัดลำดับความสำคัญของกระบวนการ ระบบ และทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานต่อไปได้
การประเมินความเสี่ยง ให้ครอบคลุมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อระบุภัยคุกคาม ช่องโหว่ และจุดอ่อนที่อาจเกิดขึ้นภายในองค์กร ขั้นตอนนี้ประกอบด้วย:
- การระบุความเสี่ยงขององค์กรเรา เช่น การโจมตีทาง Cyber ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การหยุดชะงักของ Supply Chain หรือเหตุการณ์ที่ทำให้ดำเนินงานตามปกติไม่ได้
- การประเมินความเป็นไปได้ในแต่ละเหตุการณ์และความรุนแรงของแต่ละความเสี่ยง
- การจัดลำดับความเสี่ยงตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ
การกำหนดเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพในการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ จำเป็นต้องมีความร่วมมือกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (Key Stakeholders) ซึ่งรวมถึง:
- ผู้บริหารระดับสูง เป็นบุคคลที่ชี้ทิศทางเชิงกลยุทธ์และจัดสรรทรัพยากร
- ทีมไอทีและฝ่ายปฏิบัติการ เป็นบุคคลดำเนินการหาแนวทางด้านเทคนิคและขนส่ง โลจิสติกส์
- ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เป็นบุคคลที่ทำให้มั่นใจว่าแผนสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่กำหนดไว้
- พนักงาน ซัพพลายเออร์ และลูกค้า เป็นกลุ่มบุคคลต้องได้รับการพิจารณาเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความต้องการและความคาดหวังสินค้าหรือบริการจากเรา
ตัวอย่างแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) และการตอบสนองด้านความปลอดภัยทาง Cyber ในกรณีศึกษาการแฮ็ก Bybit Hack 2025
การแฮ็ก Platform ซื้อขายคริปโตนาม Bybit สูญเสียมูลค่ากว่า 1.48 พันล้านดอลลาร์ สร้างความสั่นสะเทือนให้กับตลาดคริปโต ส่งผลให้เกิดความตื่นตระหนกและราคาของ BTC ลดลง อย่างไรก็ตาม การตอบสนองที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพของ Bybit ได้แสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เป็นแบบอย่าง รวมถึงการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) และการบริหารสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี
การตอบสนองด้านความปลอดภัยทาง Cyber ที่รวดเร็ว
Bybit ตรวจพบการโอนเงินที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างรวดเร็วผ่านระบบตรวจสอบแบบ Real Time ทำให้สามารถแยกกระเป๋าเงินที่ได้รับผลกระทบและควบคุมการละเมิดความปลอดภัยได้ การตรวจจับเชิงรุกของ Bybit ช่วยป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมาตรการรักษาความปลอดภัยทาง Cyber แบบ Real Time สำหรับแพลตฟอร์มทางการเงิน
แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ที่แข็งแกร่ง
การสื่อสารอย่างฉับไวและโปร่งใสของ Bybit สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและหน่วยงานกำกับดูแล โดยเน้นย้ำว่าเงินของลูกค้าในแพลตฟอร์มยังคงปลอดภัยด้วยกองทุนประกันและกองทุนสำรองของบริษัท การตอบสนองที่เด็ดขาดนี้ช่วยรักษาเสถียรภาพของความเชื่อมั่นในตลาดและตอกย้ำถึงความสำคัญของกลยุทธ์ BCP ที่มีโครงสร้างชัดเจน
การบริหารสภาพคล่องและความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
แม้จะได้รับผลกระทบทางการเงิน แต่ Bybit ได้สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้เกี่ยวกับกองทุนสภาพคล่องที่แข็งแกร่งของบริษัท ซึ่งช่วยลดความตื่นตระหนกและการถอนเงินจำนวนมากออกจากแพลตฟอร์ม ความสามารถในการรับมือกับความสูญเสียโดยไม่กระทบต่อเงินทุนของผู้ใช้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่มั่นคง
การรับมือกับวิกฤตของ Bybit ถือเป็นบทเรียนสำคัญด้านความพร้อมทางไซเบอร์ ความต่อเนื่องทางธุรกิจ และความยืดหยุ่นทางการเงินสำหรับอุตสาหกรรมคริปโต
หลังจากการโจมตี Bybit ทางแพลตฟอร์มได้เสนอ Incentive 10% สำหรับสินทรัพย์ที่สามารถอายัดหรือกู้คืนได้สำเร็จ แนวทางนี้มีเป้าหมายเพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนและนักวิเคราะห์อิสระให้เข้ามาช่วยติดตามธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย ทำให้ผู้กระทำผิดเคลื่อนย้ายเงินที่ถูกขโมยได้ยากขึ้น โครงการนี้สะท้อนถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับการใช้แรงจูงใจทางการเงินมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการสืบสวนและเสริมสร้างระบบตรวจสอบแบบ Real Time สำหรับการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย
เหตุการณ์นี้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการเสริมสร้างมาตรการความปลอดภัยทาง Cyber การตรวจสอบธุรกรรมแบบ Real Time และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองข้ามพรมแดนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บริการ BCMS ของทางเราสามารถช่วยคุณได้อย่างไร
ทางเรา บริษัท InterRisk Asia (Thailand) สามารถช่วยเสริมสร้างความหยืดหยุ่นให้ธุรกิจของคุณและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
การประเมินความเสี่ยงอย่างครอบคลุมและการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ
กลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ปรับให้เหมาะสมกับองค์กรและสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในอุตสาหกรรมของคุณ
การจัดฝึกอบรมและการซ้อมแผน
ให้การสนับสนุนตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 22301 และกฎระเบียบอื่นๆ
ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลในการสนับสนุนแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจของคุณและปกป้องการดำเนินงานจากการหยุดชะงัก