BIA คืออะไร? การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจที่องค์กรขาดไม่ได้

BIA คืออะไร

ในโลกปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับการหยุดชะงักต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ความล้มเหลวของห่วงโซ่อุปทาน ภัยธรรมชาติ ไปจนถึงระบบขัดข้องโดยไม่คาดคิด ความแตกต่างระหว่างบริษัทที่ฟื้นตัวได้เร็วกับบริษัทที่ฟื้นตัวได้ช้าคือการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือ BCMS

หัวใจสำคัญของ BCMS ที่มีประสิทธิภาพคือการวิเคราะห์ผลกระทบต่อธุรกิจ (Business Impact Analysis; BIA) ซึ่งเป็นกระบวนการที่หลาย ๆ องค์กรมักมองข้ามไป ในบทความนี้ เราจะพามาทำความรู้จักและเรียนรู้ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจกัน

BUSINESS IMPACT ANALYSIS หรือ BIA คือ ?

Business Impact Analysis หรือ BIA คือ กระบวนการวิเคราะห์ (Analyzing) ผลกระทบจากเหตุหยุดชะงักที่สะสมเมื่อเวลาผ่านไป (Impact overtime of a disruption) กับองค์กร ตามนิยามของมาตรฐาน ISO 22301 การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญของการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM)   

ระบุกิจกรรมทางธุรกิจที่สำคัญ (Prioritized Activities) ที่ต้องการการกู้คืนอย่างรวดเร็ว

ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุหยุดชะงัก เช่น ความเสียหายทางการเงิน ชื่อเสียง ​

กำหนดลำดับความสำคัญในการกู้คืนที่ชัดเจน เช่น เป้าหมายระยะเวลาการกู้คืน (RTO) ระยะเวลาการหยุดชะงักสูงสุดที่ยอมรับได้ (MTPD) และอื่น ๆ

มั่นใจว่าได้จัดสรรทรัพยากรในจุดที่สำคัญที่สุดในช่วงวิกฤต

ผลลัพธ์ของการทำ BIA ที่กล่าวไปด้านบนคือข้อกำหนดด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือ Business continuity requirements ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกกลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity strategy) และการทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity plan, BCP) ต่อไปนั่นเอง

BIA vs RA ต่างกันอย่างไร ?

หลาย ๆ องค์กรที่ยังไม่คุ้นเคยกับหลักการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจอาจสับสนระหว่างการประเมินผลกระทบทางธุรกิจ (Business impact analysis) กับการประเมินความเสี่ยง (Risk assessment) วันนี้เราจะมาสรุปความแตกต่างระหว่าง BIA และ RA มาเป็นตารางให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ด้านล่าง

วัตถุประสงค์หลัก

BIA

การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ
วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับองค์กรจากเหตุหยุดชะงัก

RA

การประเมินความเสี่ยง
ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับกิจกรรมสำคัญขององค์กรแล้วทำให้เกิดการหยุดชะงัก

ผลลัพธ์ที่ต้องการ

BIA

การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ
ข้อกำหนดด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity requirements)

RA

การประเมินความเสี่ยง
รายการความเสี่ยง (Risk register) ที่อาจทำให้องค์กรหยุดชะงัก (ส่งผลกระทบต่อข้อกำหนดด้านความต่อเนื่อง)

การวัดผลกระทบ

BIA

การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ
ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร เช่น ความเสียหายด้านการเงิน ด้านชื่อเสียง หรือ ผลกระทบจากการฝ่าฝืนข้อกำหนดและกฎหมาย

RA

การประเมินความเสี่ยง
มักใช้ตารางความเสี่ยง (Risk matrix) เพื่อประเมินโอกาสเกิด (likelihood) และความรุนแรง (Impact) ของความเสี่ยงนั้น

จะเห็นได้ว่าการทำ BIA จะเน้นไปที่การวิเคราะห์เพื่อหาข้อกำหนดด้านความต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมสำคัญ ผลกระทบด้านต่าง ๆ และทรัพยากรที่ต้องการ เพื่อให้องค์กรดำเนินธุรกิจต่อไปได้เมื่อเกิดเหตุหยุดชะงัก ในขณะที่การทำ RA จะเป็นการค้นหาความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กรและทำให้เกิดการหยุดชะงักมากกว่า จะเห็นได้ว่าการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจำเป็นต้องนำทั้ง 2 เทคนิคนี้มาใช้เพื่อให้การวิเคราะห์สมบูรณ์

วัตถุประสงค์ ของการทำ BIA

วัตถุประสงค์ของการทำ BIA มีดังนี้

  1. เพื่อประเมินผลกระทบจากเหตุหยุดชะงักกับองค์กร
  2. เพื่อระบุข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจาก ข้อบังคับ สัญญา กฎหมาย
  3. เพื่อระบุระยะเวลาการหยุดชะงักสูงสุดที่ยอมรับได้ (MTPD)
  4. เพื่อกำหนดเป้าหมายระยะเวลาการกู้คืน/ฟื้นฟู (RTO) กิจกรรมสำคัญขององค์กร (Prioritized Activities)
  5. เพื่อกำหนดทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมสำคัญเมื่อเกิดเหตุหยุดชะงัก
  6. เพื่อกำหนดระยะเวลาสูงสุดที่ยอมรับได้สำหรับการสูญเสียข้อมูล (RPO)
  7. เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ความต่อเนื่องทางธุรกิจขั้นต่ำ (MBCO) สำหรับสินค้าและบริการสำคัญขององค์กร
  8. เพื่อระบุระดับความพึ่งพิง (Dependency) ระหว่างองค์กร ซัพพลายเออร์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  9. เพื่อระบุระดับความพึ่งพา (Interdependency) ระหว่างกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ
  10. เพื่อประเมินและทบทวน (Validate) ขอบเขตของ BCMS อีกครั้ง

ขั้นตอน การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (BIA)

ขั้นตอนการทำ BIA นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ในบทความนี้ เราย่อยขั้นตอนการทำ BIA จากมาตรฐาน ISO ออกมาเป็นขั้นตอนย่อย ๆ 5 ขั้นตอนด้านล่าง

ขั้นตอนการทำ BIA

กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์

ให้เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่าเหตุใดคุณจึงทำ BIA และต้องการที่จะพิจารณาครอบคลุมพื้นที่ใดบ้างในธุรกิจ เช่น ระบบไอที ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน หรือความต่อเนื่องของระบบบริการลูกค้า กำหนดเป้าหมายหลักและขอบเขตก่อนเริ่มดำเนินการวิเคราะห์

Tips: หากองค์กรของคุณมีขนาดใหญ่ ให้เริ่มต้นด้วย BIA นำร่องในแผนกหนึ่งก่อนที่จะขยายไปยังทั้งบริษัท

BIA ที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องและละเอียด ซึ่งหมายถึงการทำงานอย่างใกล้ชิดกับหัวหน้าแผนก และเจ้าของกระบวนการ เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริง สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้

  • ดำเนินการสัมภาษณ์หัวหน้าแผนกเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการและกิจกรรมที่สำคัญของแผนก
  • รวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถาม BIA ทำการตรวจสอบและวิเคราะห์เหตุหยุดชะงักในอดีต (ถ้ามีข้อมูล) เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมสำคัญและระยะเวลาฟื้นฟู

 

Tips: สื่อสารกันอย่างเปิดเผย พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานรู้ถึงความเสี่ยงดีที่สุด ดังนั้น ควรให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำ BIA ด้วย

ส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของ BIA คือการระบุข้อกำหนดด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อจัดลำดับความเร่งด่วนของกิจกรรมที่จะต้องฟื้นฟูเมื่อเกิดเหตุหยุดชะงัก ซึ่งสามารถทำได้โดยการระบุวัตถุประสงค์ 4 ตัวด้านล่าง ได้แก่

  • Recovery Time Objective (RTO) หรือ เป้าหมายระยะเวลาในการฟื้นฟู
  • Recovery Point Objective (RPO) หรือ ระยะเวลาสูงสุดที่ยอมรับได้สำหรับการสูญเสียข้อมูล
  • Maximum Tolerable Period of Disruption (MTPD) หรือ ระยะเวลาการหยุดชะงักสูงสุดที่ยอมรับได้
  • Minimum Business Continuity Objective (MBCO) หรือ วัตถุประสงค์ความต่อเนื่องทางธุรกิจขั้นต่ำ

 

Tips: ทำงานอย่างใกล้ชิดกับหัวหน้าแผนกเพื่อกำหนดตัวเลขเหล่านี้อย่างสมจริง ซึ่งจะกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจและการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติทั้งหมดของคุณ

ขั้นตอนต่อมาคือการประเมินความเสี่ยง (Risk assessment) เพื่อระบุความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบให้เกิดเหตุหยุดชะงัก โดยมีรายละเอียดปลีกย่อยอีก 3 ขั้นตอน ได้แก่

  • การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงผ่านเมทริกซ์ความเสี่ยง (Risk Matrix)
  • ระบุจุดล้มเหลวเพียงจุดเดียว (Single Point of Failure) ซึ่งเป็นคอขวดที่อาจทำให้ทั้งระบบหยุดชะงักเมื่อเกิดเหตุ
  • ประเมินมาตรการบรรเทาผลกระทบในปัจจุบัน พิจารณาว่ามีแผนใดบ้างที่ดำเนินการอยู่แล้ว และเพียงพอหรือไม่

 

Tips: ขั้นตอนนี้ช่วยตรวจสอบความเหมาะสมสำหรับการลงทุนในมาตรการความต่อเนื่องทางธุรกิจ เช่น ระบบสำรองข้อมูล ซัพพลายเออร์สำรอง และเครื่องมือการกู้คืนอัตโนมัติ

เมื่อมีข้อมูลทั้งหมดในมือแล้ว องค์กรก็จะสามารถนำผลลัพธ์และข้อกำหนดด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจไประบุกลยุทธ์ความต่อเนื่อง (BC strategies) ลงในแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP)

Tips: ควรใช้ BIA เพื่อปรับปรุงแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจของคุณและฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับขั้นตอนการตอบสนอง

ประโยชน์ ของการทำ BIA

ประโยชน์หลักที่ได้จากการทำ BIA คือทำให้องค์กรเข้าใจกิจกรรมสำคัญของตัวเอง ว่ากิจกรรมใดที่ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนและใช้ทรัพยากรเท่าไหร่ในการฟื้นฟูจากเหตุหยุดชะงัก 

เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวม

พร้อมช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในระยะยาว

ประโยชน์ด้านการวางแผนกลยุทธ์

โดยเฉพาะองค์กรที่มีแผนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในอนาคต เช่น ด้านพนักงาน การนำเทคโนโลยีมาใช้ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการหลัก

ช่วยระบุความเสี่ยง

การประเมินกิจกรรมสำคัญและทรัพยากรที่ต้องใช้ และข้อกำหนดด้านความต่อเนื่องอย่างละเอียด จะช่วยให้เราเห็นภาพความเสี่ยงที่อาจทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปประเมินความเสี่ยง (RA) อีกทีได้

วิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจกับ InterRisk Asia

โดยสรุป การทำ BIA คือการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรเมื่อมีเหตุหยุดชะงัก โดยมีเป้าหมายเพื่อ ระบุกิจกรรมสำคัญ (Prioritized activities) ขององค์กร และข้อกำหนดด้านความต่อเนื่อง (BC requirements) เพื่อลดผลกระทบจากการหยุดชะงักให้ได้มากที่สุด

สำหรับองค์กรที่ต้องการจัดทำ BCMS การทำ BIA เปรียบเสมือนการติดกระดุมเม็ดแรกก่อนการระบุกลยุทธ์ด้านความต่อเนื่องและการจัดทำ BCP หากองค์กรของคุณยังไม่เคยทำ BIA หรือยังติดขัดกับการทำความเข้าใจ BCMS ติดต่อทีมที่ปรึกษาของ InterRisk วันนี้เพื่อเริ่มทำ BIA ได้เลย

InterRisk เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจชั้นนำในประเทศไทย ภายใต้เครือ MS&AD จากประเทศญี่ปุ่น

บริการของเรา
Business Continuity Consulting
การให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบ BCM ผ่านรูปแบบการดำเนินงานแบบครบวงจร พร้อมต่อยอดสู่มาตรฐาน ISO 22301
Business Continuity Training
การฝึกอบรมแบบปรับแต่งเฉพาะสำหรับผู้บริหารและพนักงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาทักษะด้าน BCMS
Business Impact Analysis
การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบจากการหยุดชะงัก เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับการจัดทำแผน BCP
Business Continuity Plan Exercise
การซ้อมแผน BCP เพื่อทดสอบและพัฒนาความพร้อมและการตอบสนองขององค์กร
Business Continuity Assessment
การประเมินประสิทธิภาพของ BCM ด้วยการวิเคราะห์อย่างละเอียด พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
เหตุผลที่เลือกเรา

ทีมที่ปรึกษามีประสบการณ์ด้าน BCMS โดยตรง

การออกแบบแผนที่ปรับตามบริบทของแต่ละธุรกิจ

โซลูชันที่ใช้ได้จริง ครบวงจร และพร้อมดำเนินการ

ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการความมั่นใจ หรือธุรกิจ SMEs ที่ต้องการวางรากฐาน InterRisk พร้อมช่วยคุณสร้างแผน BCP ที่ครบวงจร เพื่อ Turning Risks To Resilience ไปด้วยกัน

แชร์

Let us help you ensure business continuity

Talk to InterRisk and take the first step toward a safer, risk-free business