BCP คืออะไร? การวางแผนความต่อเนื่องของธุรกิจสำคัญอย่างไร

BCP คืออะไร

ในโลกปัจจุบันที่องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับเหตุไม่คาดคิดมากมาย เช่น ภัยธรรมชาติ อาชญากรรมไซเบอร์ หรือแม้แต่โรคระบาด ซึ่งความสามารถในการรับมือต่อเหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็น และการมีแผน BCP นี้จะช่วยให้องค์กรของคุณดำเนินงานต่อไปได้ แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ บทความนี้พาคุณทำความเข้าใจว่า แผน BCP คืออะไร เพื่อช่วยให้คุณสร้างแผน BCP ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

BCP คืออะไร

BCP ย่อมาจาก Business Continuity Plan หรือแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ คือ แนวทางที่องค์กรพัฒนาไว้ล่วงหน้าเพื่อรับมือกับเหตุไม่คาดคิด ที่ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจ รักษาหรือกู้คืนการทำงานที่สำคัญได้อย่างรวดเร็ว หลังจากเกิดเหตุหยุดชะงัก เช่น ภัยธรรมชาติ ไฟไหม้ การโจมตีทางไซเบอร์ โรคระบาด ความล้มเหลวของระบบ IT หรือแม้แต่การประท้วง เป็นต้น เพื่อลดผลกระทบต่อเหตุการณ์ และรับประกันการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่จำเป็นให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์หลักของการทำ BCP คือ การเตรียมความพร้อมในการทำงานและใช้งานทรัพยากรที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง รวมถึงบุคลากร สถานที่ เทคโนโลยี และข้อมูล ในสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยพิจารณาถึงการดำเนินงานทั้งหมดขององค์กรและความสัมพันธ์ระหว่างแผนกและกระบวนการต่าง ๆ หากธุรกิจของคุณเป็นเครื่องจักรที่มีความซับซ้อน แผน BCP ก็เปรียบเหมือนคู่มือในการใช้งานที่จะบอกวิธีการจัดการเมื่อเครื่องจักรนั้นเกิดปัญหา คุณจะมีอะไหล่สำรองและวิธีการทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้ต่อหรือทำให้กลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วที่สุด ถือได้ว่าเป็นการบริหารความเสี่ยงและการเตรียมความพร้อม ไม่ใช่การตอบสนองอย่างวุ่นวายเมื่อเกิดวิกฤต

BCP สำคัญ อย่างไร

ในยุคที่ความเสี่ยงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้เสมอ แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ถือเป็น “เครื่องมือสำคัญ” สำหรับการบริหารความต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นและสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วจากการหยุดชะงักจะมีความได้เปรียบ ดังนั้น BCP จึงมีความสำคัญกับองค์กรของคุณดังนี้

ลดผลกระทบจากเหตุฉุกเฉิน

การมี BCP แผนฉุกเฉินที่ดีนั้น องค์กรจะมีแนวทางที่ชัดเจนในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน เช่น หากระบบ IT ล่ม เราจะย้ายไประบบสำรองใด หรือหากโรงงานผลิตถูกน้ำท่วม เราจะย้ายกระบวนการผลิตไปที่ใด นอกจากนี้ แผน BCP จะช่วยให้สามารถกู้คืนการดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลด "Recovery Time Objective (RTO)” และ ""Maximum Tolerable Period of Disruption (MTPD)" ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญใน BCP

ลดการสูญเสียทางการเงิน

การหยุดชะงักอาจนำไปสู่ความสูญเสียทางการเงินที่สำคัญ รายได้หาย ต้นทุนเพิ่ม หรือค่าปรับสำหรับการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด แผน BCP จะช่วยลดการสูญเสียนี้โดยลดเวลาหยุดชะงักให้เหลือน้อยที่สุด เพราะยิ่งธุรกิจหยุดนานเท่าไร ก็จะยิ่งสูญเสียเงินมากเท่านั้น ซึ่งแผน BCP อาจช่วยลดต้นทุนจากการหยุดชะงักได้ ซึ่งการหยุดชะงักหรือการสูญเสียข้อมูล อาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการทำ BCP หลายเท่า

รักษาชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของลูกค้า

ในยุคที่การสื่อสารรวดเร็ว หากองค์กรมีแผนสำรองและตอบสนองต่อวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความเป็นมืออาชีพ สร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ในทางกลับกัน หากตอบสองอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ก็สามารถสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อภาพลักษณ์และสูญเสียความเชื่อมั่นได้

ปฏิบัติตามข้อกำหนดและมาตรฐานสากล

ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม เช่น การเงิน พลังงาน โรงพยาบาล มีข้อกำหนดที่จะต้องมีแผน BCP เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องได้ ซึ่งแผน BCP ที่มีประสิทธิภาพนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้

ปกป้องขวัญกำลังใจและความปลอดภัยของพนักงาน

ในช่วงวิกฤต พนักงานอาจรู้สึกเครียดและอันตราย แผน BCP ที่ชัดเจนช่วยให้ทิศทางและความมั่นใจ กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบ และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรต่อความปลอดภัย รวมถึงสวัสดิภาพของพนักงาน

ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลภายใต้ความกดดัน

ในสภาวะวิกฤตจะต้องมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็วภายใต้ความกดดัน ซึ่งแผน BCP จะมีกลยุทธ์และกรอบการตัดสินใจที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ทำให้ผู้นำสามารถดำเนินการได้อย่างเด็ดขาดและมีประสิทธิภาพ มากกว่าการรีบร้อนหาทางออกในขณะที่กำลังเกิดเหตุ

แผน BCP ประกอบด้วย อะไรบ้าง?

การทำ BCP ไม่ใช่เพียงแค่การจัดทำเอกสาร แต่เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ ขั้นตอน และทรัพยากรที่เชื่อมโยงกัน แล้วออกแบบให้มีแนวทางการตอบสนองต่อเหตุหยุดชะงักและดำเนินงานให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจ อ้างอิงจาก ISO22301 Requirement of Business Continuity Management System แผน BCP จะประกอบด้วย

วัตถุประสงค์และขอบเขต

บทบาทและความรับผิดชอบของทีมที่จะดำเนินการตามแผน

การดำเนินการตามแนวทางการแก้ปัญหา เช่น แผนการสื่อสาร ขั้นตอนการตอบสนอง ขั้นตอนการสำรองและกู้คืน

ข้อมูลสนับสนุนที่จำเป็นต่อการเริ่มใช้แผน ดำเนินการ ประสานงาน และสื่อสารการดำเนินการในทีม

การพึ่งพากันของหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร

ทรัพยากรที่จำเป็น

การรายงานผล

กระบวนการในการยุติการดำเนินการ

ขั้นตอนการทำ Business Continuity Plan มีอะไรบ้าง?

การทำ BCP อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ การทำงานร่วมกัน และความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง โดยมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

ขั้นตอน BCP
  1. จัดตั้งทีมทำงานที่มีความรู้ความเข้าใจต่อ BCMS
  2. วางแผนและคุมการดำเนินการ
  3. วิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis)
  4. ประเมินความเสี่ยงและภัยคุกคาม (Risk Assessment)
  5. พัฒนากลยุทธ์และแนวทางการแก้ปัญหาความต่อเนื่องทางธุรกิจ
  6. จัดทำและพัฒนาแผน BCP
  7. ทดสอบและฝึกซ้อมแผน
  8. ประเมินเอกสารและศักยภาพความต่อเนื่องทางธุรกิจ
  9. ทบทวนและปรับปรุงแผนอย่างต่อเนื่อง

การทำ BCP เหมาะสำหรับ องค์กรแบบใด?

หลายคนมักคิดว่า BCP เหมาะสำหรับเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว BCP เหมาะสำหรับ “ทุกองค์กรที่ไม่ต้องการให้ธุรกิจหยุดชะงัก” ไม่ว่าจะมีขนาด อุตสาหกรรม หรือความซับซ้อนแค่ไหน แม้ว่าขนาดและรายละเอียดเฉพาะของ BCP จะแตกต่างกัน แต่ความต้องการพื้นฐานสำหรับความต่อเนื่องทางธุรกิจนั้นเป็นสิ่งสากลที่เชื่อมโยงถึงกัน ไม่ว่าจะเป็น

สถาบันทางการเงิน ธนาคาร บริษัทลงทุน บริษัทประกันภัย

องค์กรที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำ แก๊ส โทรคมนาคม ไอที

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิต อุตสาหกรรม SMEs หรือบริษัทที่พึ่งพาเครื่องจักรหลักเพียงชุดเดียว

ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ธุรกิจออนไลน์ หรือธุรกิจให้บริการแบบ 24/7

องค์กรภาครัฐ ที่มีบทบาทในการให้บริการประชาชน

ธุรกิจที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดหรือมาตรฐาน

องค์กรที่ต้องการทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก

อย่างก็ตาม การไม่มี BCP อาจเท่ากับการ “ฝากความหวังไว้กับโชค” ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่ปลอดภัยในโลกธุรกิจปัจจุบัน

ทำแผน BCP ครบวงจรกับ InterRisk Asia

ในวันที่ธุรกิจอาจหยุดชะงักได้จากภัยคุกคามที่คาดไม่คิด การมี BCP คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้องค์กรอย่างเป็นระบบ และสร้างความเชื่อมั่นให้ทั้งลูกค้า พนักงาน และพันธมิตร หากคุณยังไม่มีแผน BCP หรืออยากอัปเดตแผนเดิมให้พร้อมมากขึ้น ติดต่อทีมที่ปรึกษาของ InterRisk วันนี้ แล้วคุณจะมั่นใจได้ว่า “แม้จะเกิดวิกฤต องค์กรของคุณก็จะไม่สะดุด”

InterRisk เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจชั้นนำในประเทศไทย ภายใต้เครือ MS&AD จากประเทศญี่ปุ่น

บริการของเรา

Business Continuity Consulting

การให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบ BCM ผ่านรูปแบบการดำเนินงานแบบครบวงจร พร้อมต่อยอดสู่มาตรฐาน ISO 22301

Business Continuity Training

การฝึกอบรมแบบปรับแต่งเฉพาะสำหรับผู้บริหารและพนักงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาทักษะด้าน BCMS

Business Impact Analysis

การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบจากการหยุดชะงัก เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับการจัดทำแผน BCP

Business Continuity Plan Exercise

การซ้อมแผน BCP เพื่อทดสอบและพัฒนาความพร้อมและการตอบสนองขององค์กร

Business Continuity Assessment

การประเมินประสิทธิภาพของ BCM ด้วยการวิเคราะห์อย่างละเอียด พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง

เหตุผลที่เลือกเรา

ทีมที่ปรึกษามีประสบการณ์ด้าน BCMS โดยตรง

การออกแบบแผนที่ปรับตามบริบทของแต่ละธุรกิจ

โซลูชันที่ใช้ได้จริง ครบวงจร และพร้อมดำเนินการ

ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการความมั่นใจ หรือธุรกิจ SMEs ที่ต้องการวางรากฐาน InterRisk พร้อมช่วยคุณสร้างแผน BCP ที่ครบวงจร เพื่อ Turning Risks To Resilience ไปด้วยกัน

แชร์

Let us help you ensure business continuity

Talk to InterRisk and take the first step toward a safer, risk-free business